RSS

Tag Archives: เกียรติ

มารดาของเหล่าชะฮีด : ค็อนซาอ์ บินติ อัมรู เราะฎิยัลลอฮุอันฮา

Khonsaa'
มารดาของเหล่าชะฮีด : ค็อนซาอ์ บินติ อัมรู เราะฎิยัลลอฮุอันฮา
แปลและเรียบเรียงโดย
Zunnur

          ชื่อเต็มของเธอคือ ตะมาฎ็อร บินติ อัมรู บิน อัลหาริษ บิน อัชชาริด หญิงนักกวีผู้มีชื่อเสียง บทกวีบางบทถูกเอื้อนเอ่ยออกมาจากริมฝีปากของเธอเมื่อชัครฺ พี่ชายของเธอได้สิ้นชีพไปในสมัยญาฮิลียะฮฺ เธอร้ำไห้ด้วยความเสียใจ และสุดท้ายบทกวีดังกล่าวก็กลายเป็นบทกวีที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาบทกวีทั้งหลายที่เกี่ยวกับความโศกเศร้า ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของบทกวีของเธอ

จงร่ำไห้เถิดด้วยดวงตาทั้งสองหรือตาเพียงข้างเดียว
หรือว่าฉันจะโดดเดี่ยว เพราะไม่มีอีกแล้วผู้อาศัยภายในบ้าน

          และอีกหนึ่งบทกวีที่ดีมากของเธอก็คือ

ดวงตาทั้งสองของฉันร่ำไห้และไม่มีสิ่งจะหยุดยั้งได้
ดวงตาจะไม่ร่ำไห้ได้เยี่ยงไร…เพื่อชัครฺคนดี
ดวงตาจะไม่ร่ำไห้ได้ไฉน…เพื่อผู้กล้า
ดวงตาจะไม่ร่ำไห้ได้หรือ…เพื่อคนหนุ่มที่สัตย์ซื่อ

          เธอมาหาท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม  พร้อมกับกลุ่มชนของเธอบนีสาลิม แล้วประกาศรับอิสลามพร้อมกับโอบรับอะกีดะฮฺเตาฮีด การเข้ารับอิสลามของเธอดีจริงๆ มันกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ยอดเยี่ยมในเรื่องความกล้าหาญ จิตใจที่ยิ่งใหญ่ และเกียรติยศสำหรับหญิงมุสลิมะฮฺ

ท่านเราะสูลุลลอฮ เคยขอให้เธอแต่งบทกวี และเธอก็แต่งบทกวีให้ ท่านเราะสูลุลลอฮขานรับว่า โอ้ค็อนซาอ์ และวันเวลาของฉันนั้นอยู่ในมือเธอ

ครั้นอะดีย์ บินหาติม มาหาท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เขากล่าวว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮครับ ในหมู่พวกเรานี้มีคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องบทกวี และมีคนที่ใจบุญต่อเพื่อนมนุษย์ และคนที่ชำนาญในการควบม้า” แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ถามว่า “พวกเขาชื่ออะไรกันบ้าง?” อะดีย์ บินหากิม ตอบว่า “คนที่เชี่ยวชาญในเรื่องบทกวีคือ อัลก็อยสฺ บินหะญัร ส่วนผู้ใจบุญยิ่งคือหาติม บินสะอดฺ(พ่อของอะดีย์เอง) และคนที่ชำนาญในการควบม้านั้นคืออัมรู บิน มะอฺดิการิบ” ท่านเราะสูลุลลอฮ กล่าวว่า “ท่านกล่าวไม่ถูกต้องน่ะ…อะดีย์ คนที่เชี่ยวชาญที่สุดในเรื่องบทกวีนั้นคือ ค็อนซาอ์ บินติ อัมรู และคนที่ใจบุญยิ่งคือมุหัมมัด(หมายถึง ตัวท่านเราะสูลเอง) และคนที่ควบม้าเก่งที่สุดนั้นคือ อลี บิน อบีฏอลิบ”

นอกจากนี้แล้ว เมื่อนักกวีทั้งหลายได้รวมตัวกัน ไม่มีหญิงคนใดจะเชี่ยวชาญเรื่องกวีกลอนมากไปกว่าเธอ และเธอยังมีสถานะและบทบาทที่สูงมากในเรื่องการญิฮาดช่วยเหลือและปกป้องอิสลาม เธอเข้าร่วมในการสู้รบพร้อมกับชาวมุสลิมเสมอและติดตามกองทัพไปทุกที่เพื่อชัยชนะ

ครั้นเมื่อมุษันนา บินหาริษะฮฺ อัชชัยบานีย์ เคลื่อนทัพไปยังสมรภูมิกอดิสิยะฮฺในสมัยท่านอมีรุลมุอ์มินีน อุมัร บินอัลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ค็อนซาอ์ได้เดินทางไปด้วยพร้อมกับลูกชายทั้ง 4 คนของเธอ ในสนามรบ…ช่วงค่ำคืนซึ่งเหล่าทหารหาญพร้อมจะสู้รบกันแล้ว ค็อนซาอ์ได้ชุมนุมลูกชายทั้ง 4 ของเธอเพื่อให้คำแนะนำบางอย่างแก่พวกเขา และเพื่อปลุกใจพวกเขาให้ฮึดสู้และไม่หนีสงคราม พร้อมกับหวังว่าพวกเขาจะได้ตายชะฮีดในหนทางของอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ดังนั้นจงฟังคำสั่งเสียที่มีค่าของอัลค็อนซาอ์เถิด Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , ,

ชีวประวัติท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ เราะหิมะฮุลลอฮ (ตอนที่ 4)

سعيد بن المسيب3

ชีวประวัติท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ เราะหิมะฮุลลอฮ
(ตอนที่ 4 : การรักษาเกียรติ การยึดมั่นกับสัจธรรม และการแต่งงานของลูกสาว)
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

การรักษาเกียรติของตนเองและการยึดมั่นกับสัจธรรมของท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ 

จากอิมรอน บินอับดุลลอฮ กล่าวว่า “ท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ มีรายได้เป็นเงิน 3 หมื่นสำหรับเขาที่บัยตุลมาล ท่านถูกเรียกเพื่อให้ไปรับมัน แต่ท่านปฏิเสธแล้วพูดว่า ‘ฉันไม่ต้องการมัน จนกว่าอัลลอฮจะตัดสินระหว่างตัวฉันกับตระกูลมัรวาน’” [1]

จากอลี บินซัยดฺ เล่าวว่า ท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ เคยถูกถามว่า “ทำไมอัลหัจญาจญ์จึงไม่ส่งคนมาหาท่าน ไม่เคลื่อนย้ายตัวท่าน และไม่ทำร้ายท่าน?” ท่านสะอีดตอบว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮ ฉันไม่รู้ เพียงแต่เขาเคยเข้ามัสญิดพร้อมกับพ่อของเขา แล้วทำการละหมาดโดยที่การรุกูอฺและสุญูดไม่สมบูรณ์ แล้วฉันก็เอาทรายกำมือหนึ่งขว้างใส่พวกเขา” และอัลหัจญาจญ์พูดว่า “หลังจากนั้น ฉันปรับปรุงการละหมาดให้ดีอยู่เสมอ” [2]

จากอิมรอน บินฏ็อลหะฮฺ อัลคุซะนีย์ กล่าวว่า “อับดุลมะลิก บินมัรวาน ประกอบพิธีฮัจญ์ เมื่อถึงมะดีนะฮฺ เขายืนอยู่ที่หน้าประตูมัสญิดและส่งคนไปหาสะอีด บิน อัลมุสัยยับ เพื่อเรียกเขามาหา แต่ไม่สามารถทำให้เขาขยับไปไหนได้ ทูตคนนั้นมาหาสะอีดและกล่าวว่า ‘จงตอบสนองเถิด ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนกำลังยืนอยู่ที่หน้าประตูต้องการสนทนากับท่าน’ สะอีดกล่าวว่า ‘อะมีรุลมุอ์มินีนไม่มีเรื่องจำเป็นใดๆต่อฉัน และฉันก็ไม่มีเรื่องเรื่องจำเป็นใดๆต่อเขาด้วย และความต้องการของเขาต่อฉันจะไม่ถูกสนองตอบ’ ฑูตคนนั้นกลับไปหาอับดุลมะลิกและรายงาน อะมีรุลมุอ์มินีนจึงกล่าวว่า ‘จงกลับไปหาเขา และบอกแก่เขาว่า ฉันเพียงต้องการคุยกับเขาเท่านั้น และอย่าบังคับให้เขามาหา’ ฑูตคนั้นจึงกลับไปหาท่านสะอีดและพูดว่า ‘จงสนองคำเรียกของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน’ ท่านสะอีดตอบกลับไปเหมือนครั้งแรก ทูตกล่าวว่า ‘หากท่านอะมีรุลมุอ์มินีนมิได้แจ้งแก่ฉันก่อนหน้านี้เกี่ยวกับท่าน(แจ้งเรื่องห้ามบังคับ) แน่แท้ฉันจะไม่กลับไปหาท่านอะมีรุลมุอ์มินีนเว้นแต่ด้วยการพาหัวของท่านไปด้วย ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนส่งฑูตมาหาท่านเพื่อให้ท่านสนทนาด้วย แต่ท่านกลับตอบกลับด้วยคำพูดเช่นนี้’ ท่านสะอีดตอบโต้กลับไปว่า ‘หากเขาต้องการทำดีกับฉัน ความดีนั้นก็เพื่อท่าน แต่หากเขาต้องการอื่นจากนั้น ฉันก็ไม่อนุญาตให้ตนเองเข้าไปเกี่ยวพันด้วย จนกว่าเรื่องจะถูกตัดสิน’ ฑูตคนนั้นจึงกลับไปและรายงานให้ทราบ และท่านอะมีรุลมุอ์มินีนก็กล่าวว่า ‘ขออัลลอฮทรงเมตตาอบูมุหัมมัด เขาไม่ยอมมาหาฉันไม่ใช่เหตุอื่นใดเลยนอกจากเพราะจุดยืนที่มั่นคง(ของตัวเขาเอง)’” [3]

จากอัมรฺ บินอาศิม จากสัลลาม บินมิสกีน จากอิมรอน บินอับดิลลาฮ บินฏ็อลหะฮฺ อัลคุซะนีย์ กล่าวว่า เมื่ออัลวะลีดถูกแต่งตั้งเป็นเคาะลีฟะฮฺ เขามายังมะดีนะฮฺและเข้าไปในมัสญิด เขาเห็นผู้คนมากมายห้อมล้อมชัยคฺคนหนึ่ง เขาจึงถามว่า “คนนี้เป็นใคร?” ผู้คนก็ตอบว่า “สะอีด บิน อัลมุสัยยับ” เมื่อเขานั่งลง เขาก็ส่งทูตคนหนึ่งไปหาชัยคฺคนนั้น ทูตก็ได้ไปหาและกล่าวว่า “จงสนองตอบคำเรียกของอะมีรุลมุอ์มินีน” ท่านสะอีดตอบว่า “ท่านอาจบอกชื่อฉันผิดไป หรือไม่เขาก็ส่งท่านไปหาคนอื่น” ท่านสะอีดปฏิเสธทูตคนนั้นไป ทูตคนนั้นรายงานให้อะมีรุลมุอ์มินีนทราบ เขาจึงโกรธและต้องการทำอะไรบางอย่างกับท่านสะอีด ในวันนั้นผู้คนเกิดหวาดกลัว พวกเขาเข้าไปหาอะมีรุลมุอ์มินีนพร้อมกล่าวว่า “โอ้อะมีรุลมุอ์มินีน เขาคือฟะกีฮฺ(นักนิติศาสตร์)ของเมืองมะดีนะฮฺ คือชัยคฺ(ผู้ใหญ่)ของเผ่ากุร็อยชฺ และเป็นสหายของบิดาท่าน ไม่มีกษัตริย์ท่านใดก่อนหน้าท่านที่ปรารถนาจะเข้ามาหาเขา(และได้พบปะกับเขา-ผู้แปล)” พวกเขากล่าวเช่นนั้น จนกระทั่งอัลวะลีดเดินจากไป [4]

ท่านสะอีดไม่ตอบสนองคำเรียกของพวกเขา อาจเป็นเพราะว่าท่านเห็นความอธรรมของพวกเขา แต่ท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ ตอบสนองท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการเมืองมะดีนะฮฺ

อิบนุสะอดฺ รายงานไว้ในอัฏเฏาะบะก็อต จากมาลิก บินอนัส กล่าวว่า “ท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซจะไม่ตัดสินปัญหาใด นอกจากจะได้ถามท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับก่อน เขาส่งฑูตคนหนึ่งไปหาท่านสะอีดเพื่อถามท่าน ฑูตคนนั้นเรียกท่านสะอีด แล้วท่านก็มาหาท่านอุมัร เมื่อเข้าไปหา ท่านอุมัรกล่าวว่า ‘ทูตคนนั้นผิดพลาดแล้ว ฉันส่งเขาไปเพียงเพื่อถามท่านในมัจลิสของท่านเท่านั้น’” [5]

จากสัลลาม บินมิสกีนพูดว่า อิมรอน บินอับดุลลอฮ เล่าแก่ฉันว่า “ฉันเห็นท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ วิญญาณของท่าน ณ ที่อัลลอฮนั้น เบาหวิวสำหรับท่านมากกว่าวิญญาณของแมลงวัน” [6]

การแต่งงานของลูกสาวท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ 

จากอบูบักรฺ บินอบูดาวูด กล่าวว่า “เคาะลีฟะฮฺอับดุลมะลิกได้สู่ขอลูกสาวของท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ ให้แก่อัลวะลีด ลูกชายของเขา แต่ท่านสะอีดปฏิเสธ ท่านอ้างเหตุผลต่างๆต่ออับดุลมะลิก จนกระทั่งเขาสั่งเฆี่ยนท่านสะอีด 100 ครั้งในวันที่หนาวเหน็บ และราดน้ำใส่ท่าน และให้ท่านใส่เสื้อขนสัตว์”

หลังจากท่านอบูบักรฺ บินอบูดาวูด กล่าวว่า อะหฺมัด ลูกพี่ลูกน้องของฉัน กล่าวว่า อับดุรเราะหฺมาน บินวะฮบฺ กล่าวกับฉันว่า อุมัร บินวะฮบฺ เล่าให้แก่เรา จากอัฏฏ็อฟ บินคอลิฟ จากอิบนุหัรมะละฮฺ จากอิบนุ อบีวะดาอะฮฺ(คือกะษีร) กล่าวว่า “ฉันมักจะนั่งอยู่ในมัจลิสญ์ของท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับเสมอ แล้วฉันก็หายไป(ไม่มาในมัจลิสญ์)หลายวัน เมื่อฉันไปหาท่าน ท่านถามว่า ‘เจ้าไปอยู่ไหนมา?’ ฉันตอบว่า ‘ภรรยาของฉันเสียชีวิต ฉันจึงยุ่งกับการจัดการมัยยิดของเธอ’ ท่านกล่าวว่า ‘ทำไมเจ้าไม่บอกเรา เราจะได้ร่วมส่งมัยยิดของเธอด้วย’ แล้วท่านก็ถามต่อว่า ‘แล้วเจ้าได้แต่งงานใหม่หรือยัง?’ ฉันตอบว่า ‘ขออัลลอฮทรงเมตตาท่าน ใครกันจะยกลูกสาวของเขาแต่งงานกับฉัน ในขณะที่ฉันไม่มีอะไรเลยนอกจากเพียง 2 หรือ 3 ดิรฮัมเท่านั้น?’ ท่านตอบว่า ‘ฉันจะแต่งงานให้เจ้า’ ฉันถามว่า ‘ท่านจะทำอย่างนั้นหรือ?’ ท่านสะอีดตอบว่า ‘ใช่’ และหลังจากนั้นสรรเสริญอัลลอฮและกล่าวเศาะลาวาตแก่ท่านนบี ท่านก็แต่งงานฉัน(กับลูกสาวของท่าน)ด้วยกับมะฮัร 2 หรือ 3 ดิรฮัม ฉันยืนอยู่และไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร เนื่องจากความดีใจ

ฉันกลับไปที่บ้าน และเริ่มคิดว่าฉันจะยืมเงินจากใครได้บ้าง(เพื่อจัดงานวะลีมะฮฺ) ฉันละหมาดมัฆริบ และหลังจากฉันกลับมาที่บ้าน ขณะที่ฉันอยู่คนเดียวในสภาพที่ถือศีลอด แล้วฉันก็นำอาหารมื้อค่ำมาเพื่อละศีลอด มันคือขนมปังและน้ำมัน ทันใดนั้นก็มีคนมาเคาะประตูบ้านของฉัน ฉันจึงถามว่า “ใครหน่ะ?” เขาตอบว่า ‘สะอีด’ ฉันพยายามนึกถึงทุกคนที่ชื่อสะอีด ซึ่งไม่ใช่สะอีด บิน อัลมุสัยยับ เพราะฉันไม่เคยมองท่านนาน 40 ปีเว้นแต่ที่บ้านของท่านหรือมัสญิดเท่านั้น ฉันจึงออกไป ปรากฏว่าคือท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับ ฉันคิดว่าท่านคงจะเปลี่ยนใจแน่ ฉันพูดว่า ‘โอ้ท่านอบูมุหัมมัด ทำไมท่านไม่ส่งคนมาหาฉัน แล้วให้ฉันไปหาท่าน’ ท่านตอบว่า ‘ไม่ เจ้าคู่ควรกว่าที่จะมาหา เจ้าคือชายโสด แล้วเจ้าก็แต่งงาน ฉันไม่ชอบหากเจ้าเดินทางกลางคืนคนเดียว นี่คือภรรยาของเจ้า’ ลูกสาวของท่านอยู่ข้างหลังร่างกายที่สูงของท่าน หลังจากนั้นท่านจับมือลูกสาวของท่านแล้วจูงมือเธอมายังประตูและท่านก็ปิดประตูไป หญิงสาวคนนั้นสะดุดล้มเนื่องจากความเขินอาย แล้วฉันก็ล็อคประตู

…หลังจากนั้นันก็ขึ้นไปยังชั้นบน แล้วฉันก็ร้องบอกกับผู้คน(เพื่อนบ้านของฉัน) พวกเขาจึงมายังฉันและถามว่า ‘มีอะไรเกิดขึ้นกับท่านหรือ?’ ฉันก็บอกพวกเขาไป และพวกเขาก็ได้มาหาเธอ(ลูกสาวของท่านสะอีด) เมื่อเรื่องนี้ไปถึงแม่ของฉัน ท่านก็ได้มาหาฉันและพูดว่า ‘ใบหน้าของแม่จะเป็นที่ต้องห้ามต่อใบหน้าของลูก หากลูกแตะต้องตัวเธอก่อนที่แม่จะแต่งตัวให้เธอในเวลา 3 วัน’

เธอก็ไปอยู่(กับแม่)นาน 3 วัน แล้วต่อมาฉันก็ได้พบกับเธอ ปรากฏว่าเธอคือผู้หญิงที่สวยที่สุดและท่องจำคัมภีร์ของอัลลอฮมากที่สุด และมีความรู้เกี่ยวกับสุนนะฮฺของท่านนบีมากที่สุด และเธอยังรู้สิทธิต่างๆของสามีของเธอเองด้วย ฉันเก็บตัวเงียบนาน 6 เดือน โดยไม่ได้ไปหาท่านสะอีด บิน อัลมุสัยยับเลย ต่อมาฉันก็ได้ไปหาท่านขณะที่ท่านอยู่ในหะละเกาะฮฺ แล้วฉันก็ให้สลามและท่านก็รับสลาม ท่านไม่ชวนฉันพูดคุยเลยจนกระทั่งเสร็จสิ้นมัจญ์ลิส เมื่อไม่เหลือใครแล้วนอกจากฉัน ท่านก็พูดขึ้นว่า ‘คนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง?’ ฉันตอบว่า ‘ดีครับ ท่านอบูมุหัมมัด เหมาะสมตามที่มิตรสหายต้องการและไม่เป็นที่ชื่นชอบแก่ศัตรู’ ท่านกล่าวว่า ‘หากมีสิ่งใดทำให้เจ้าไม่สบายใจ ก็จงคลี่คลายด้วยไม้หวาย’ แล้วฉันก็กลับบ้าน และท่านให้เงิน 20,000 ดิรฮัมแก่ฉัน”[7]

อบูบักรฺ บิน อบีดาวูด กล่าวว่า “อิบนุ อบีวะดาอะฮฺ คือ กะษีร บิน อับดุลมุฏฏอลิบ บิน อบูวะดาอะฮฺ”

อัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า “เขาคือ สะฮฺมีย์ , มักกีย์ รายงานจากอัลมุฏฏอลิบ บิดาของเขา คือหนึ่งในคนที่เข้ารับอิสลามในช่วงการพิชิตมักกะฮฺ ส่วนที่รายงานจากเขานั้นคือ ลูกชายของเขาชื่อ ญะอฺฟัร บินกะษีร และอิบนุ หัรมะละฮฺ”

_____________________________

[1] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 5/125

[2] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 5/129 และสิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , 4/226

[3] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 5/129 และสิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , 4/227

[4] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 5/129-130 และสิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , 4/227

[5] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 5/122

[6] ตารีค อัลอิสลาม , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 6/374 และเรื่องนี้ยังมีระบุไว้ในอัลหิลยะฮฺ , อบูนุอัยมฺ , 2/164

[7] รายงานโดยอบูนุอัยมฺ ใน อัลหิลยะฮฺ , 2/167 , และอัซซะฮะบีย์ระบุไว้ใน สิยัรฯ , 4/223 อัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า “เรื่องนี้ถูกรายงานโดยอะหฺมัด บินอับดุรเราะหฺมาน บินวะฮบฺ เพียงคนเดียว แม้ว่าเขาจะเป็นคนเฎาะอีฟ แต่มุสลิมก็ถือว่าเขาเป็นหลักฐานได้” ในเชิงอรรถของสิยัรฯ ระบุว่า อิบนุ อบีหาติมและคนอื่นๆมองว่าเขาเป็นคนที่ษิเกาะฮฺ เพียงแต่ความจำของเขาเปลี่ยนไป(สับสน)ในช่วงท้ายของชีวิต

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , ,

กุญแจรอมฎอน (ตอนที่ 13)

6000_JuiceDropกุญแจรอมฎอน
(ตอนที่ 13)

โดย ชัยคฺ ดร. มุหัมมัด หัสสาน หะฟิเซาะฮุลลอฮ
ถอดความโดย Zunnur

            มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอการสถาพร ความศานติ และความจำเริญจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวของท่านและเศาะหาบะฮฺของท่านผู้เป็นเหล่าคนดีและสะอาดบริสุทธิ์ และแด่ผู้เดินอยู่บนแนวทางพวกท่านทุกคนจวบจนวันกิยามะฮฺ

ขออัลลอฮทรงให้ทุกท่านมีชีวิตที่ดีงาม โอ้พี่ชายน้องชายและพี่สาวน้องสาวทุกท่าน อัลลอฮทรงตอบรับการถือศีลอด การยืนละหมาด การบริจาคทาน และการงานที่ดีทั้งหลายของผมและท่านทั้งหลายด้วย แท้จริงพระองค์ทรงเป็นเจ้าของและทรงสามารถเหนือสิ่งนั้น

โอ้พี่น้องที่รัก มีคนถามผมว่า “อะไรคือร่องรอยของตักวา? อะไรคือประโยชน์ของตักวาทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ?” และคำตอบคือ ความสุขทั้งหมดในดุนยาและอาคิเราะฮฺนั้นล้วนโคจรอยู่บนการตักวาต่ออัลลอฮ ผู้ทรงยิ่งใหญ่เท่านั้น

ใช่แล้ว…หากเราต้องการทรัพย์สิน ความร่ำรวย ความกว้างขวาง ปัจจัยยังชีพ ความสามารถ และความสุขศานติในดุนยาและอาคิเราะฮฺ เราจะต้องตักวาต่ออัลลอฮ มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่านและพระองค์ทรงสูงส่งยิ่ง

อัลลอฮ ผู้ทรงเกียรติและสูงส่งยิ่ง ตรัสว่า

إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُتَّقِينَ

          แท้จริงอัลลอฮทรงรักบรรดาผู้ตักวา (อัตเตาบะฮฺ 9 : 4)

หากท่านต้องการเป็นที่รักของอัลลอฮ ท่านก็จะต้องบรรลุถึงความตักวา และพึงรู้เถิดว่าผู้ที่ตักวานั้นอยู่กับพระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงส่ง

وَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ مَعَ الْمُتَّقِينَ 

            และจงตักวาต่ออัลลอฮ และพึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮทรงอยู่กับบรรดาผู้ตักวา (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 194)

 

และนี่คือการอยู่ด้วยแบบเฉพาะเจาะจง คือการอยู่ด้วยในรูปแบบของการคุ้มครอง การช่วยเหลือ การสนับสนุน และการส่งเสริม

وَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ مَعَ الْمُتَّقِينَ

            และจงตักวาต่ออัลลอฮ และพึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮทรงอยู่กับบรรดาผู้ตักวา (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 194)

นอกจากนี้ ไม่มีความหวาดกลัวและความเสียใจใดๆสำหรับผู้ที่ปรับปรุงแก้ไขและตักวาต่ออัลลอฮ ผู้ทรงเกียรติและยิ่งใหญ่ มหาบริสุทธิ์ยิ่ง อัลลอฮทรงตรัสว่า

فَمَنِ اتَّقَىٰ وَأَصْلَحَ فَلَا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلَا هُمْ يَحْزَنُونَ

            ดังนั้นผู้ใดที่ตักวาและปรับปรุงแก้ไข ก็ไม่มีความหวาดกลัวใดๆแก่พวกเขาและทั้งพวกเขาก็จะไม่เสียใจ (อัลอะอฺร็อฟ 7 : 35)

และด้วยความตักวานั้น อัลลอฮจะทรงมอบให้แก่เราซึ่ง “อัล-ฟุรกอน” คือเครื่องมือความสามารถในการจำแนกแยกแยะระหว่างความจริงและความเท็จ ผู้ทรงสูงส่งยิ่งตรัสว่า

إِن تَتَّقُوا اللَّهَ يَجْعَل لَّكُمْ فُرْقَانًا

            หากพวกเจ้าตักวาต่ออัลลอฮฮฺ พระองค์จะทรงสร้างแก่พวกเจ้าซึ่งอัลฟุรกอน(สิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงและความเท็จ) (อัลอันฟาล 8 : 29)

โดยใช้มันในการจำแนกแยกแยะระหว่างความจริงกับความเท็จ

และยิ่งไปกว่านั้น การงานของเราจะไม่ถูกตอบรับนอกจากด้วยตักวา

إِنَّمَا يَتَقَبَّلُ اللَّهُ مِنَ الْمُتَّقِينَ

            แท้จริงอัลลอฮจะทรงรับจากบรรดาผู้ตักวาเท่านั้น (อัลมาอิดะฮฺ 5 : 27)

และหากท่านต้องการความรู้ พึงทราบเถิดว่าอัลลอฮจะไม่ทรงสอนความรู้แก่ท่าน นอกจากว่าท่านจะต้องบรรลุถึงความตักวา

وَاتَّقُوا اللَّهَ ۖ وَيُعَلِّمُكُمُ اللَّهُ

            และพวกเจ้าจงตักวาต่ออัลลอฮเถิด และอัลลอฮจะทรงให้ความรู้แก่พวกเจ้า (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 282)

และหากเราต้องการปัจจัยยังชีพ ความกว้างขวาง และความจำเริญ เราก็จำเป็นต้องมีตักวา

وَمَن يَتَّقِ اللَّهَ يَجْعَل لَّهُ مَخْرَجًا وَيَرْزُقْهُ مِنْ حَيْثُ لَا يَحْتَسِبُ

                และผู้ใดตักวาต่ออัลลอฮฮฺ พระองค์จะทรงสร้างทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด  (อัฏเฏาะลาก 65 : 3)

และหากท่านต้องการให้อัลลอฮประทานความง่ายดายแก่กิจการงานของท่าน และต้องการให้พระองค์ทรงปรับปรุงสภาพของตัวท่าน และสภาพของลูกๆและครอบครัวของท่าน ท่านก็จงตักวาเถิด

وَمَن يَتَّقِ اللَّهَ يَجْعَل لَّهُ مِنْ أَمْرِهِ يُسْرًا

                และผู้ใดตักวาต่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทรงทำให้กิจการของเขาสะดวกง่ายดายแก่เขา  (อัฏเฏาะลาก 65 : 4)

ดังนั้น ความสุขทั้งมวลในดุนยาล้วนโคจรอยู่บนการตักวา

وَالْآخِرَةُ عِندَ رَبِّكَ لِلْمُتَّقِينَ

            ส่วนอาคิเราะฮฺ ณ ที่พระผู้อภิบาลของเจ้านั้นสำหรับบรรดาผู้ตักวา (อัซซุครุฟ 43 : 35)

และนี่คือสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้กันต่อไปในตอนหน้า หากอัลลอฮทรงประสงค์ และขออัลลอฮทรงประทานพรแด่ท่านนบีของเรา แด่ครอบครัวและบรรดาเศาะหาบะฮฺ และผู้ที่รักและเป็นมิตรกับท่าน

 

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 9, 2014 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , ,

กุญแจรอมฎอน (ตอนที่ 12)

1195785487_9c5ebdfeff_oกุญแจรอมฎอน
(ตอนที่ 12)

โดย ชัยคฺ ดร. มุหัมมัด หัสสาน หะฟิเซาะฮุลลอฮ
ถอดความโดย Zunnur

            มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ผมขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าที่เที่ยงแท้อื่นใดนอกจากอัลลอฮ ผู้ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ยำเกรง และขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดผู้เป็นนายของเรานั้นเป็นบ่าวของอัลลอฮและเป็นเราะสูลของพระองค์ คือผู้นำที่มีเกียรติและประเสริฐยิ่ง ขออัลลอฮทรงประทานพร ศานติ และความจำเริญแก่ท่านนบี แด่ครอบครัวของท่านผู้เป็นเหล่าคนดี และแด่บรรดาเศาะหาบะฮฺผู้มีเกียรติและประเสริฐยิ่ง และแด่ผู้เจริญรอยตามพวกเขาด้วยความดีงามตลอดไปจวบจนวันกิยามะฮฺ

โอ้พี่น้องที่รักทุกท่าน ตักวาที่แท้จริงนั้นเป็นดังที่ท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้กล่าวเอาไว้ว่า

أَنْ يُطَاعَ فَلَا يُعْصَى وَأَنْ يُذْكَرَ فَلَا يُنْسَى وَأَنْ يُشْكَرَ فَلَا يُكْفَرَ 

            การเชื่อฟังอัลลอฮและไม่ฝ่าฝืนพระองค์ การรำลึกถึงอัลลอฮและไม่หลงลืมพระองค์ และการขอบคุณอัลลอฮและไม่ปฏิเสธ(ในนิอฺมะฮฺของ)พระองค์

          การฝ่าฝืนอัลลอฮ(มะอฺศิยะฮฺ)คือลางร้ายทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ ส่วนตักวานั้นคือการที่ท่านทิ้งการฝ่าฝืนและเคลื่อนตัวไปสู่การเชื่อฟัง(ฏออะฮฺ) พระผู้อภิบาลของเรา ผู้ทรงจำเริญและสูงส่งยิ่ง ตรัสว่า

فَمَنِ اتَّبَعَ هُدَايَ فَلَا يَضِلُّ وَلَا يَشْقَىٰ وَمَنْ أَعْرَضَ عَن ذِكْرِي فَإِنَّ لَهُ مَعِيشَةً ضَنكًا وَنَحْشُرُهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ أَعْمَىٰ قَالَ رَبِّ لِمَ حَشَرْتَنِي أَعْمَىٰ وَقَدْ كُنتُ بَصِيرًا قَالَ كَذَٰلِكَ أَتَتْكَ آيَاتُنَا فَنَسِيتَهَا ۖ وَكَذَٰلِكَ الْيَوْمَ تُنسَىٰ وَكَذَٰلِكَ نَجْزِي مَنْ أَسْرَفَ وَلَمْ يُؤْمِن بِآيَاتِ رَبِّهِ ۚ وَلَعَذَابُ الْآخِرَةِ أَشَدُّ وَأَبْقَىٰ

            แล้วผู้ใดปฏิบัติตามทางนำ(ฮิดายะฮฺ)ของข้า เขาก็จะไม่หลงผิดและจะไม่ได้รับความลำบาก และผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงข้า แท้จริงสำหรับเขาคือการมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้น และเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺในสภาพของคนตาบอด เขากล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมพระองค์จึงทรงให้ข้าพระองค์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในสภาพของคนตาบอดเล่า ทั้งๆที่ข้าพระองค์เคยเป็นคนที่มองเห็น” พระองค์ตรัสว่า “เช่นนั้นแหละ เมื่อโองการทั้งหลายของเราได้มีมายังเจ้า เจ้าก็ทำเป็นลืมมัน และในทำนองเดียวกัน วันนี้เจ้าก็จะถูกลืม” (ฏอฮา 20 : 123-126)

ดังนั้นการฝ่าฝืนจึงเป็นลางร้ายทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ ภัยพิบัติมิได้เกิดขึ้นเว้นแต่เพราะความผิดบาป และจะไม่ถูกหายไปนอกจากด้วยการเตาบะฮฺ

وَأَنْ يُذْكَرَ فَلَا يُنْسَى

การรำลึกถึงอัลลอฮและไม่หลงลืมพระองค์

            ตักวาที่แท้จริงนั้นคือการที่เรารำลึกถึงอัลลอฮ ผู้ทรงเกียรติและสูงส่งยิ่ง ผมแปลกใจมาก…เวลาที่ยาวนานของค่ำคืนได้เลยผ่านพวกเราไป เฉกเช่นค่ำคืนที่แสนประเสริฐนี้ แต่บางคนในหมู่พวกเรากลับสาละวันอยู่กับการเปลี่ยนช่องทีวีหรือเว็บไซต์ต่างๆบนอินเตอร์เน็ต และไม่ได้รำลึกถึงอัลลอฮเลยแม้แต่ครั้งเดียว แล้วเขากลับมาอ้างในภายหลังว่าเรารักอัลลอฮ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ท่าน

อันตะเราะฮฺ บิน ชัดด๊าด รำลึกถึง อับละฮฺ สุดที่รักของเขาในสนามรบ ท่ามกลางกองเลือดและเนื้อหนัง แล้วทำไมท่านถึงไม่รำลึกถึงพระผู้อภิบาลของท่าน ทั้งที่ท่านอยู่ในความโปรดปรานและความจำเริญ อัลลอฮผู้ทรงยิ่งใหญ่ ตรัสว่า

فَاذْكُرُونِي أَذْكُرْكُمْ

            ดังนั้น พวกเจ้าจงรำลึกถึงข้าเถิด ข้าก็จะรำลึกถึงพวกเจ้า (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 152)

และเช่นนั้นคือตักวาที่แท้จริง

أَنْ يُشْكَرَ فَلَا يُكْفَرَ

การขอบคุณอัลลอฮและไม่ปฏิเสธ(ในนิอฺมะฮฺของ)พระองค์

 

وَإِذْ تَأَذَّنَ رَبُّكُمْ لَئِن شَكَرْتُمْ لَأَزِيدَنَّكُمْ 

            และจงรำลึกขณะที่พระเจ้าของพวกเจ้าได้ประกาศว่า หากพวกเจ้าขอบคุณ ข้าก็จะเพิ่มพูนให้แก่พวกเจ้า (อิบรอฮีม 14 : 7)

ขออัลลอฮทรงประทานตักวาที่แท้จริงแก่ผมและท่านทั้งหลาย และทำให้เราทุกคนอยู่ในหมู่ผู้ที่ตักวาต่อพระองค์ ขออัลลอฮทรงประทานพรแก่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคน

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 9, 2014 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , ,

กุญแจรอมฎอน (ตอนที่ 11)

IttakiAllahArabicกุญแจรอมฎอน
(ตอนที่ 11)
โดย
ชัยคฺ ดร. มุหัมมัด หัสสาน หะฟิเซาะฮุลลอฮ
ถอดความโดย Zunnur

            มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ผมขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าที่เที่ยงแท้อื่นใดนอกจากอัลลอฮ ผู้ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ยำเกรง และขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดผู้เป็นนายของเรานั้นเป็นบ่าวของอัลลอฮและเป็นเราะสูลของอัลลอฮ และเป็นผู้นำที่มีเกียรติและประเสริฐยิ่ง ขออัลลอฮทรงประทานพร ศานติ และความจำเริญแก่ท่านนบี แด่ครอบครัวของท่านผู้เป็นเหล่าคนดี และแด่บรรดาเศาะหาบะฮฺผู้มีเกียรติและประเสริฐยิ่ง และแด่ผู้เจริญรอยตามพวกเขาด้วยความดีงามตลอดไปจวบจนวันกิยามะฮฺ

ตักวา คือคำสั่งเสียของท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม แก่อุมมะฮฺของท่าน ดังเช่นที่มีบันทึกไว้โดยอัต-ติรมิซีย์ ด้วยสายรางานที่เศาะฮีหฺ รายงานจากท่านอิรบาฏ บิน สาริยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า

وَعَظَنَا رَسُوْلُ اللهِ  مَوْعِظَةً بَلِيْغَةً وَجِلَتْ مِنْهَا القُلُوْبُ وَذَرَفَتْ مِنْهَا العُيُوْنُ. فَقُلْنَا كَأَنَّهَا مَوْعِظَةُ مُوَدِّعٍ يَا رَسُوْلَ اللهِ فَأَوْصِنَا ، فَقَالَ : اُوْصِيْكُمْ بِتَقْوَى اللهِ عَزَّ وَجَلَّ

          ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้ตักเตือนเราด้วยการตักเตือนหนึ่งที่ลึกซึ้งซึ่งทำให้จิตใจหวาดหวั่นและน้ำตาเอ่อล้น แล้วพวกเราก็กล่าวว่า : ประหนึ่งว่ามันคือคำตักเตือนของผู้จะจากลาเลย โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ ดังนั้นท่านจงสั่งเสียให้แก่พวกเราเถิด ท่านกล่าวว่า ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้ตักวาต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเกียรติและสูงส่งยิ่ง

ดูคำสั่งเสียของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มีให้เราสิ

اُوْصِيْكُمْ بِتَقْوَى اللهِ عَزَّ وَجَلَّ

ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้ตักวาต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเกียรติและสูงส่งยิ่ง

          นี่คือคำสั่งเสียของท่านนบีที่มอบให้แก่อุมมะฮฺของท่าน นอกจากนี้ท่านยังกล่าวแก่มุอ๊าซ ผู้เป็นที่รักของท่าน

يَامُعَاذ اِتَّقِ اللهَ حَيْثُمَا كُنْتَ ، وَأَتْبِعِ السَّيِّئَةَ الحَسَنَةَ تَمْحُهَا ، وَخَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ

          โอ้มุอ๊าซ ท่านจงตักวาต่ออัลลอฮไม่ว่าท่านจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม และจงตามความชั่วด้วยการทำความดีชดใช้ ซึ่งความดีนั้นจะไปลบล้างความชั่วได้ และจงปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยจรรยามารยาทที่ดีงาม

และท่านก็ได้สั่งเสียเรื่องตักวาแก่อบูสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺด้วย อบูสะอีดพูดกับท่านเราะสูลในวันหนึ่งว่า โปรดสั่งเสียแก่ฉันด้วย โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ” ท่านตอบว่า

أُوْصِيْكَ بِتَقْوَى الله فَإِنَّهَا رَأْسُ كُلِّ شَئ

ฉันขอสั่งเสียท่านให้ตักวาต่ออัลลอฮ เพราะแท้จริงมันคือส่วนที่สำคัญที่สุดของทุกๆสิ่ง 

            ในอีกสำนวนหนึ่งระบุว่า

فَإّنَّهَا رَأْسُ كُلِّ خَير

แท้จริงมันคือส่วนที่สำคัญที่สุดของทุกความดี

            ดังนั้น โอ้พี่น้องที่รักทั้งหลาย พวกท่านจงตักวาต่ออัลลอฮ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ และพระองค์ทรงสูงส่งยิ่ง อัลลอฮผู้ทรงยิ่งใหญ่และสูงส่งยิ่ง ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ

            โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงตักวาต่ออัลลอฮอย่างแท้จริงเถิด (อาลิอิมรอน 3 : 102)

เมื่ออายะฮฺนี้ถูกประทานลงมา มันได้สร้างความสงสัยแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ใครในหมู่พวกเรากันล่ะ…ที่จะสามารถตักวาต่ออัลลอฮ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และสูงส่งยิ่ง ได้อย่างแท้จริง อัลลอฮก็ได้ประทานอีกอายะฮฺหนึ่งว่า

فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ

            ดังนั้นจงยำเกรงอัลลอฮฺ เท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถเถิด (อัตตะฆอบุน 64 : 16)

อายะฮฺที่สองนี้ไม่ได้ลบล้างอายะฮฺแรกแต่อย่างใด ดังที่ท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวไว้ แต่มันหมายถึง โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงตักวาต่ออัลลอฮอย่างแท้จริงเท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถเถิด

ท่านอิบนุ อับบาส ได้กล่าวเกี่ยวกับอายะฮฺ

(جَاهِدُوا فِي اللَّهِ حَقَّ جِهَادِهِ)أيْ   

 وَلَا تَأْخُذْكُمْ فِيْ اللهْ لَوْمَةُ لَائِم  ، وَقُوْمُوْا لله بِالقِسْطِ وَلَوْ عَلَى أَنْفُسِكُمْ وَأَبْنَائْكُمْ

          “จงตักวาต่ออัลลอฮอย่างแท้จริงเถิด” หมายถึง “จงต่อสู้เพื่ออัลลอฮอย่างแท้จริงเถิด”  และจงอย่ากลัวการตำหนิของผู้ใดเมื่อพวกเจ้าอยู่บนหนทางของอัลลอฮฺ และจงดำรงไวัซึ่งความยุติธรรม แม้แต่แก่ตัวของพวกท่านและลูกหลานของพวกท่านเอง

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ

            โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงตักวาต่ออัลลอฮอย่างแท้จริงเถิด (อาลิอิมรอน 3 : 102)

ท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า

حَقُّ التَّقْوَى أَنْ يُطَاعَ فَلَا يُعْصَى وَأَنْ يُذْكَرَ فَلَا يُنْسَى وَأَنْ يُشْكَرَ فَلَا يُكْفَرَ

            ตักวาที่แท้จริงคือ การเชื่อฟังอัลลอฮและไม่ฝ่าฝืนพระองค์ , การรำลึกถึงอัลลอฮและไม่หลงลืมพระองค์ และการขอบคุณอัลลอฮและไม่ปฏิเสธ(ในนิอฺมะฮฺของ)พระองค์

เราจะได้เรียนรู้ตักวาที่แท้จริงอีกครั้งในตอนต่อไปด้วยอนุมัติจากอัลลอฮ ขอการสถาพรจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวของท่าน เศาะหาบะฮฺของท่าน และผู้ที่เป็นมิตรกับท่าน ขอความศานติและความเมตตาจากอัลลอฮจงประสบแด่ท่านทุกคน

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 5, 2014 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , ,

กุญแจรอมฎอน (ตอนที่ 10)

Amalan yang Palingกุญแจรอมฎอน
(ตอนที่ 10)

โดย ชัยคฺ ดร. มุหัมมัด หัสสาน หะฟิเซาะฮุลลอฮ
ถอดความโดย Zunnur

            มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอการสถาพร ความศานติ และความจำเริญจงมีแด่ท่านนบีผู้ซื่อสัตย์ของเรา แด่ครอบครัวของท่านผู้เป็นเหล่าคนดี และแด่บรรดาเศาะหาบะฮฺผู้มีเกียรติและประเสริฐยิ่ง และแด่ผู้เจริญรอยตามพวกเขาด้วยความดีงามตลอดไปจวบจนวันกิยามะฮฺ

ขออัลลอฮทรงให้ทุกท่านมีชีวิตที่ดีงาม โอ้พี่ชายน้องชายและพี่สาวน้องสาวทุกท่าน

ขออัลลอฮทรงประทานความตักวาแก่ผมและท่านทุกคน นั่นคือเป้าหมายที่มีเกียรติ ที่อัลลอฮทรงบัญญัติการถือศีลอดแก่เราทั้งหลายก็เพื่อให้บรรลุถึงมันให้ได้ มันคือเป้าหมายของการถือศีลอด

ตักวานั้นเป็นดังที่ท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซ ได้กล่าวเอาไว้ว่า

لَيْسَ التَّقْوَى بِصِيَامِ النِّهَارِ ، وَلا بِقَيَامِ اللَّيْلِ ، وَالتَّخْلِيطِ فِيمَا بَيْنَ ذَلِكَ ، إِنَّمَا التَّقْوَى إِمْتِثَالُ مَا أَمَرَ الله وَتَرْكُ مَا نَهَى اللهُ عَنْهُ ، فَمَنْ رُزِقَ بَعْدَ ذَلِكَ خَيْرًا فَهُوَ خَيْرٌ إِلَى خَيْرٍ

            ตักวาไม่ใช่ด้วยการถือศีลอดในตอนเช้า และยืนละหมาดในตอนค่ำ หรือการทำทั้งสองอย่างนั้น  แต่ตักวานั้นคือการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮ และการละทิ้งสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ดังนั้นใครก็ตามที่ได้รับความดีงามหลังจากนั้น มันก็คือความดีงาม 

นี่คือแก่นแท้ของตักวา คือคำสั่งเสียของอัลลอฮที่ได้มอบให้กับสิ่งถูกสร้างทั้งหลายในรุ่นแรกและรุ่นหลัง อัลลอออฮฮฮฮ….คำสั่งเสียของอัลลอฮที่ได้มอบให้กับสิ่งถูกสร้างทั้งหลายในรุ่นก่อนและรุ่นหลัง

وَلَقَدْ وَصَّيْنَا الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ مِن قَبْلِكُمْ وَإِيَّاكُمْ أَنِ اتَّقُوا اللَّهَ

            และแท้จริงเราได้สั่งเสียไว้แก่บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก่อนจากพวกเจ้า และพวกเจ้าด้วยว่าจงตักวาต่ออัลลอฮฺเถิด (อันนิสาอ์ 4 : 131)

أَنِ اتَّقُوا اللَّهَ

จงตักวาต่ออัลลอฮฺเถิด

                เป้าหมายของการสร้างสิ่งถูกสร้างคือ การอิบาดะฮฺ

وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ

            และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่ออิบาดะฮฺต่อข้า (อัซซาริยาต 51 : 56)

และแท้จริงเป้าหมายของการอิบาดะฮฺนั้นคือ ตักวา

ท่านตรึกตรองใคร่ครวญข้อสรุปนี้หรือเปล่า? เป้าหมายของการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน สวนสวรรค์และนรก การประทานคัมภีร์ทั้งหลายและส่งบรรดาเราะสูลทุกคนลงมา เป้าหมายของมันก็คือการอิบาดะฮฺ

وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ

            และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่ออิบาดะฮฺต่อข้า (อัซซาริยาต 51 : 56)

และเป้าหมายของการอิบาดะฮฺนั้นคือ ความตักวา

يَا أَيُّهَا النَّاسُ اعْبُدُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ وَالَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

โอ้มนุษย์เอ๋ย! จงเคารพอิบาดะฮฺพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า 

          นี่คือคำร้องเรียกโดยรวมถึงมนุษยชาติทั้งหมด

يَا أَيُّهَا النَّاسُ اعْبُدُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ وَالَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

          โอ้มนุษย์เอ๋ย! จงเคารพอิบาดะฮฺพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้าและบรรดาผู้ที่มาก่อนพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ตักวา (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 21)

ดังนั้น ตักวาจึงเป็นเป้าหมายของเป้าหมายทั้งปวง เพราะตักวานั้นคือคำสั่งเสียของอัลลอฮที่ให้แก่สิ่งถูกสร้างทั้งหมด และตักวานั้นยังเป็นคำสั่งเสียของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ได้มอบไว้แก่อุมมะฮฺของท่านด้วย และเราจะขอสั่งเสียตัวเราเองด้วยคำสั่งเสียของท่านเราะสูลุลลอฮในตอนต่อไป อินชาอัลลอฮุ ตะอาลา

ขอการสถาพรจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคน

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 1, 2014 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , ,

กุญแจรอมฎอน (ตอนที่ 9)

taqwa_by_mystafa-d5ed8yc
กุญแจรอมฎอน
(ตอนที่ 9)

โดย
ชัยคฺ ดร. มุหัมมัด หัสสาน หะฟิเซาะฮุลลอฮ
ถอดความโดย Zunnur

            มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอการสถาพร ความศานติ และความจำเริญจงมีแด่ท่านนบีผู้ซื่อสัตย์ของเรา แด่ครอบครัวของท่านผู้เป็นเหล่าคนดี และแด่บรรดาเศาะหาบะฮฺผู้มีเกียรติและประเสริฐยิ่ง และแด่ผู้ที่เดินอยู่บนเส้นทางของพวกเขาไปจนถึงวันกิยามะฮฺ

ขออัลลอฮทรงให้ทุกท่านมีชีวิตที่ดีงาม โอ้พี่ชายน้องชายที่มีเกียรติ และพี่สาวน้องที่เคารพ

เราได้ถามท่านไปว่า ตักวาคืออะไร? อะไรคือเป้าหมายที่ด้วยความยิ่งใหญ่ของมันนั้น อัลลอฮทรงบัญญัติการถือศีลแก่อุมมะฮฺที่มีเกียรติและสิริมงคล

คำว่า “ตักวา” นั้นคือคำนามของคำว่า “อิตตะกอ” ซึ่งรากศัพท์ของมันคือ “อัลอิตติกออ์” ซึ่งทั้งสองคือคำนามและรากศัพท์นั้นนำมาจากคำว่า “วะกอ” และ “อัลวิกอยะฮฺ” นั้นคือ การปกป้องรักษาสิ่งๆหนึ่งจากสิ่งที่จะทำร้ายและเป็นอันตรายแก่มัน ดังนั้นโดยรากฐานของตักวาแล้วคือ การที่บ่าวได้สร้าง สิ่งป้องกัน ขึ้นมาระหว่างตัวเขาเองกับความพิโรธ โกรธกริ้ว และการลงโทษของอัลลอฮ และ สิ่งป้องกัน” นี้ก็คือ การกระทำที่เป็นการเชื่อฟัง(ฏออะฮฺต่อ)อัลลอฮและการหลีกห่างจากการฝ่าฝืน และนี่คือแก่นแท้ของตักวา

        มีผู้ถามท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า โอ้ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ตักวาคืออะไร? ท่านจึงถามเขากลับไปว่า ท่านเคยเดินผ่านทางที่มีหนามไหม? เขาตอบว่า เคยครับ ท่ามถามต่อไปว่า แล้วท่านทำอย่างไร? เขาตอบว่า เมื่อฉันเห็นหนาม ฉันก็หันหนีจากมันคือหลีกห่างจากมัน ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า นั่นแหล่ะคือความตักวา นี่แหล่ะตักวา!

อิบนุ มุอฺตัซซฺ ถือว่านี่คือคำตอบที่งดงามยิ่ง และเป็นสำนวนคำพูดที่ชาญฉลาดมาก ท่านกล่าวว่า จงขจัดความผิดบาป จงขจัดความผิดบาป คือจงทิ้งความผิดบาปและการฝ่าฝืน

خَلِّ الذُّنُوْبَ صَغِيْــــــرَهَا وَكَبِيْـرَهَا فَهُوَ التُّـــــقَى

وَاصْنَعْ كَ مَـــــــاشٍ فَوْقَ أَرْضِ الشَّــــوْكِ يَحْذَرُ مَا يَرَى

لاَ تَحْــــقِرَنَّ صَغِيْـــــرَةً إِنَّ اْلجِبَـــالَ مِنَ الْحَــصَى

จงขจัดความผิดบาปทั้งเล็กและใหญ่ เพราะมันคือสิ่งป้องกัน

และจงทำตัวเหมือนผู้ที่เดินบนแผ่นดินที่มีหนาม เขาจะระมัดระวังเมื่อมองเห็นมัน

อย่าได้ดูแคลนสิ่งที่เล็กน้อย แท้จริงภูเขานั้นมาจากก้อนกรวด

          ท่านฏ็อลกุ บิน หะบีบ ถูกถามเกี่ยวกับตักวา ท่านกล่าวตอบว่า คือ….

أَنْ تَعْمَلَ بِطَاعَةِ الله عَلَى نُوْرٍ مِنَ الله تَرْجُوْ ثَوَابَ الله وَأَنْ تَتْرُكَ مَعْصِيَةَ الله عَلَى نُوْرٍ مِنَ الله تَخَافُ عِقَابَ الله

การที่ท่านทำการเชื่อฟังต่ออัลลอฮ บนพื้นฐานของรัศมีที่มาจากอัลลอฮ โดยหวังผลบุญตอบแทนจากอัลลอฮ และคือการที่ท่านละทิ้งการฝ่าฝืนอัลลอฮ บนพื้นฐานของรัศมีที่มาจากอัลลอฮ โดยหวั่นกลัวต่อการลงโทษของอัลลอฮ

ขอสาบานต่ออัลลอฮ เรามีความต้องการต่อคำนิยามนี้อย่างมาก ในช่วงวันเวลาที่เต็มไปด้วยระลอกคลื่นแห่งความวุ่นวาย(ฟิตนะฮฺ)อันบ้าคลั่งมืดทึบ

โอ้พี่น้องที่รักและพี่สาวน้องสาวที่เคารพ ความตักวานั้นคือ การที่ท่านทำการเชื่อฟังต่ออัลลอฮ บนพื้นฐานของรัศมีที่มาจากอัลลอฮ โดยหวังผลบุญตอบแทนจากอัลลอฮ และคือการที่ท่านละทิ้งฝ่าฝืนอัลลอฮ บนพื้นฐานของรัศมีที่มาจากอัลลอฮ โดยหวั่นกลัวต่อการลงโทษของอัลลอฮ

เราจะยังอยู่ด้วยกันต่อไปในคืนพรุ่งนี้ ในสวนแห่งความตักวา อินชาอัลลอฮ

ขออัลลอฮทรงประทานความตักวาแก่ผมและท่านทั้งหลาย และขอพระองค์อย่าได้ทรงให้ทางนำเป็นที่ต้องห้ามสำหรับผมและท่านทุกคน แท้จริงพระองค์ทรงเป็นเจ้าของและเป็นผู้จัดการกับสิ่งดังกล่าว ขอการสถาพรจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคน

 

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มิถุนายน 30, 2014 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , ,

กุญแจรอมฎอน (ตอนที่ 7)

supplication-in-mecca
กุญแจรอมฎอน
(ตอนที่ 7)
โดย
ชัยคฺ ดร. มุหัมมัด หัสสาน หะฟิเซาะฮุลลอฮ
ถอดความโดย Zunnur

            มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอการสถาพร ความศานติ และความจำเริญจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวผู้เป็นเหล่าคนดี บรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคน

ขออัลลอฮทรงให้ทุกท่านมีชีวิตที่ดีงาม โอ้พี่ชายน้องชายและพี่สาวน้องสาวทุกท่าน

มีคนๆหนึ่งพูดกับผมว่า บาปของผมมีมากมาย ผมทำบาปและการฝ่าฝืนทุกอย่าง คุณบอกกับเราเมื่อคืนวานก่อนเกี่ยวกับการเตาบะฮฺ ฉันละอายใจที่จะทำการเตาบะฮฺต่ออัลลอฮ ผู้ทรงเกียรติและยิ่งใหญ่ ฉันได้แยกตัวทำบาปและการฝ่าฝืนเพียงลำพัง

ผมขอบอกกับท่านในคืนนี้ว่า โอ้ผู้เป็นที่รักของพระผู้ทรงเป็นสุดที่รัก โอ้ผู้ทำการเตาบะฮฺ จงกลับไปหาอัลลอฮ และจงรู้ไว้เถิดว่าการอภัยโทษของอัลลอฮนั้นกว้างใหญ่กว่าบาปทั้งหมดของท่าน ท่านมิได้กล่าวปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมุหัมมัดคือเราะสูลของอัลลอฮกระนั้นหรือ? ท่านมิได้กล่าวปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมุหัมมัดคือเราะสูลของอัลลอฮอย่างนั้นหรือ?

إِنَّ اللَّهَ لَا يَغْفِرُ أَن يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُونَ ذَٰلِكَ لِمَن يَشَاءُ 

แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับพระองค์ แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้ซึ่งสิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ (อันนิสาอ์ 4 : 116)

อัตเตาฮีดนั้นคือ ยารักษาที่ยิ่งใหญ่ หากมันได้ถูกวางไว้บนภูเขาแห่งความผิดบาปแล้วไซร้ แน่นอนว่ามันจะละลายความผิดบาปเหล่านั้นทั้งหมด ท่านไม่เคยได้ยินคำพูดของที่รักของเรา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม หรือ? ท่านกล่าวว่า อัลลอฮผู้ทรงสูงส่ง ได้ตรัสไว้ในหะดีษกุดสีย์ว่า

يَا ابْنَ آدَمَ ! إِنَّكَ مَا دَعَوْتَنِيْ وَرَجَوْتَنِيْ غَفَرْتُ لَكَ عَلَى مَا كَانَ مِنْكَ وَلَا اُبَالِي.

يَا ابْنَ آدَمَ ! لَوْ بَلَغَتْ ذُنُوْبُكَ عَنَانَ السَّمَاءِ ثُمَّ اسْتَغْفَرْتَنِيْ غَفَرْتُ لَكَ.

!إِنَّكَ لَوْ أَتَيْتَنِيْ بِقُرَابِ الأَرْضِ خَطَايَا ثُمَّ لَقِيْتَنِيْ لَا تُشْرِكُ ِبْي شَيْئاً لَأَتَيْتُكَ بِقُرَابِهَا مَغْفِرَةً يَا ابْنَ آدَم

โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย ตราบใดที่สูเจ้าวิงวอน และฝากความหวังไว้กับข้า ตราบนั้นข้าจะอภัยในความผิดที่สูเจ้าได้กระทำ และข้าก็จะไม่สนใจมันอีก โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย แม้ว่าความผิดของสูเจ้าจะสูงเทียมฟ้า แล้วเจ้าได้ขออภัยโทษต่อข้า ข้าก็จะให้อภัยแก่เจ้า โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย ถ้าหากสูเจ้ามาหาข้า พร้อมด้วยบาปที่เต็มแน่นเท่าผืนแผ่นดิน แล้วเจ้าได้มาพบกับข้าโดยที่สูเจ้าไม่ได้ตั้งภาคีใดๆกับข้า แน่นอนข้าก็จะให้อภัยแก่สูเจ้าเท่าผืนแผ่นดินเช่นเดียวกัน 

นี่คือความประเสริฐอะไรกัน? และคือความเอื้ออาทรประเภทไหนกันน่ะ? ใช่…จงตอบรับเถิด ไม่ว่าท่านจะทำบาปอะไรมา และไม่ว่าการฝ่าฝืนของท่านจะมากมายแค่ไหนก็ตาม

كُلُّ بَنِي آدَمَ خَطَّاءٌ وَخَيْرُ الْخَطَّائِينَ التَّوَّابُونَ

ลูกหลานอาดัมทั้งหมดนั้นกระทำผิด และผู้กระทำความผิดที่ดียิ่งคือ ผู้ที่หมั่นทำการเตาบะฮฺ

และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวเอาไว้ ดังที่มีบันทึกไว้ในเศาะฮีหฺมุสลิม หะดีษรายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ (ท่านนบีกล่าวว่า)

وَالّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لَوْ لَمْ تُذْنِبُوا لَذَهَبَ اللّهُ بِكُمْ، وَلَجَاءَ بِقَوْمٍ يُذْنِبُونَ، فَيَسْتَغْفِرُونَ ، فَيَغْفِرُ لَهُمْ

ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺผู้ซึ่งชีวิตข้าอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ หากพวกเจ้าไม่มีการพลาดพลั้งทำบาปเลย แน่แท้อัลลอฮฺจะทรงให้พวกเจ้าสูญสิ้นไป และพระองค์ก็จะทรงนำชนกลุ่มอื่นที่ทำบาปให้มาสืบทอดแทนพวกเจ้า พวกเขาจะกล่าวอภัยโทษต่ออัลลอฮฺ และพระองค์ก็จะทรงอภัยให้เขา

และผมขอปิดท้ายด้วยหะดีษบทนี้ ซึ่งบันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

أَذْنَبَ عَبْدٌ ذَنْبًا

เมื่อบ่าวคนหนึ่งคนใดพลาดพลั้งทำบาป

ตัวผมเองคือบ่าวคนหนึ่ง เราทุกคนต่างก็เป็นบ่าว

فَقَالَ : يَارَبِّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي ، فَقَالَ اللهُ عَزَّوَجَل : أَذْنَبَ عَبْدِي ذَنْبًا ، فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ ، وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ ثُمَّ عَادَ عَبْدُ ، فَأَذْنَبَ ، فَقَالَ : أَيْ رَبِّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي ، فَقَالَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى : عَبْدِي أَذْنَبَ ذَنْبًا ، فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ ، ثُمَّ عَادَ ، فَأَذْنَبَ ، فَقَالَ : أَيْ رَبِّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي ، فَقَالَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى : أَذْنَبَ عَبْدِي ذَنْبًا ، فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ ، وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ فَالْيَفْعَلْ عَبْدِيْ مَا شَاء ، فَقَدْ غَفَرْتُ لَهُ 

          แล้วเขาก็กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดอภัยโทษแก่บ่าปของข้าพระองค์ด้วย” อัลลอฮ ผู้ทรงเกียรติและยิ่งใหญ่ ตรัสว่า บ่าวของข้าได้ทำความผิดบาป และเขารู้ดีว่าเขามีพระเจ้าที่สามารถอภัยโทษแก่บาปของเขาหรือเอาผิดด้วยบาปนั้นได้” หลังจากนั้นบ่าวก็กลับไปและทำบาปอีกครั้ง และกล่าวว่า โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดอภัยโทษแก่บาปของข้าพระองค์ด้วย” อัลลอฮ ผู้ทรงเกียรติและยิ่งใหญ่ ตรัสว่า บ่าวของข้าได้ทำความผิดบาป และเขารู้ดีว่าเขามีพระเจ้าที่สามารถอภัยโทษแก่บาปของเขาหรือเอาผิดด้วยบาปนั้นได้ หลังจากนั้นบ่าวก็กลับไปและทำบาปอีกครั้ง และกล่าวว่า โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดอภัยโทษแก่บ่าปของข้าพระองค์ด้วย” อัลลอฮจึง ตรัสว่า บ่าวของข้าได้ทำความผิดบาป และเขารู้ดีว่าเขามีพระเจ้าที่สามารถอภัยโทษแก่บาปของเขาหรือเอาผิดด้วยบาปนั้นได้ ดังนั้น บ่าวของข้าจงทำตามที่เขาต้องการเถิด แท้จริงข้าได้อภัยโทษแก่เขาแล้ว

อย่ามักง่ายกับอัลลอฮด้วยกับหะดีษบทนี้ แต่นี่คือประตูแห่งความหวังที่เปิดให้กับท่านเสมอ เพื่อท่านจะได้ทำการเตาบะฮฺต่ออัลลอฮ

ผมขอวิงวอนต่ออัลลอฮ ขอพระองค์ทรงประทานการเตาบะฮฺและการอภัยโทษแก่ผมและพวกท่าน และขอพระองค์ทรงตอบรับจากผมและท่านทั้งหลายด้วย ขอการสถาพรจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา ครอบครัวของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคน

 

 

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มิถุนายน 29, 2014 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , ,

กุญแจรอมฎอน (ตอนที่ 6)


1425632_711255332220066_1468207300_nกุญแจรอมฎอน
(ตอนที่ 6)
โดย ชัยคฺ ดร. มุหัมมัด หัสสาน หะฟิเซาะฮุลลอฮ
ถอดความโดย Zunnur

 

มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอการสถาพร ความศานติ และความจำเริญจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวผู้เป็นเหล่าคนดี บรรดาเศาะหาบะฮฺผู้ทรงเกียรติและประเสริฐยิ่ง และแด่บรรดาผู้เจริญรอยตามพวกท่านด้วยความดีงามตลอดไปจวบจนวันกิยามะฮฺ

ขออัลลอฮทรงให้ทุกท่านมีชีวิตที่ดีงาม โอ้พี่ชายน้องชายและพี่สาวน้องสาวทุกท่าน ผมยังอยู่กับทุกท่านในค่ำคืนที่มีเกียรติ งดงาม และมีสิริมงคล เรายังอยู่ด้วยกันในเรื่องตำแหน่งและสถานะของการเตาบะฮฺ

โอ้พี่ชายน้องชายและพี่สาวน้องสาวทุกท่าน การเตาบะฮฺนั้นเป็นสาเหตุแห่งการตายที่ดี อย่าได้ให้มลาอิกะฮฺแห่งความตายมาหาท่าน เว้นแต่ในสภาพที่ท่านอยู่ในการเตาบะฮฺ หากมลาอิกะฮฺแห่งความตายได้มาหาท่าน หลังจากอายุขัยของท่านได้ผ่านพ้นไป และท่านได้ทำการงานที่ดี ในสภาพร่างกายแข็งแรงและปกปิด และท่านก็อยู่ในการเตาบะฮฺ อินชาอัลลอฮ ท่านจะพบกับความสุขทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ

ใช่แล้ว…อัลลอฮ ผู้ทรงเกียรติและสูงส่งยิ่ง ได้ตรัสว่า

إِنَّ الَّذِينَ قَالُوا رَبُّنَا اللَّهُ ثُمَّ اسْتَقَامُوا تَتَنَزَّلُ عَلَيْهِمُ الْمَلَائِكَةُ أَلَّا تَخَافُوا وَلَا تَحْزَنُوا وَأَبْشِرُوا بِالْجَنَّةِ الَّتِي كُنتُمْ تُوعَدُونَ نَحْنُ أَوْلِيَاؤُكُمْ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَفِي الْآخِرَةِ ۖ وَلَكُمْ فِيهَا مَا تَشْتَهِي أَنفُسُكُمْ وَلَكُمْ فِيهَا مَا تَدَّعُونَ نُزُلًا مِّنْ غَفُورٍ رَّحِيمٍ

แท้จริงบรรดาผู้กล่าวว่า อัลลอฮฺคือพระเจ้าของพวกเรา แล้วพวกเขาก็ยืนหยัดตามคำกล่าวนั้น มะลาอิกะฮฺจะลงมาหาพวกเขา (โดยกล่าวกับพวกเขาว่า) พวกท่านอย่าหวาดกลัวและอย่าเศร้าสลดใจ แต่จงต้อนรับข่าวดี คือสวนสวรรค์ซึ่งพวกเจ้าได้ถูกสัญญาไว้พวกเราเป็นผู้อารักขาพวกท่านทั้งในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และปรโลก และสำหรับพวกท่านในสวนสวรรค์นั้นจะได้สิ่งที่จิตใจของพวกท่านปรารถนา และสำหรับพวกท่านในสวนสวรรค์นั้นจะได้ในสิ่งที่พวกท่านเรียกร้องเป็นการต้อนรับด้วยความเมตตาจากพระผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ(ฟุศศิลัต 41 : 30-32)

และผู้ทรงเกียรติ ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง ยังตรัสอีกว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلَا تَمُوتُنَّ إِلَّا وَأَنتُم مُّسْلِمُونَ

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงอัลลอฮอย่างแท้จริงเถิด และพวกเจ้าจงอย่าตายเป็นอันขาดนอกจากในฐานะที่พวกเจ้าเป็นผู้นอบน้อม(มุสลิม)เท่านั้น (อาลิอิมรอน 3 : 102)

จงตรวจสอบให้ดีว่าท่านจะตายในอิสลาม จงผูกพันอยู่กับอิสลามเพื่อที่ท่านจะได้ตายในอิสลาม จงผูกพันอยู่กับการเชื่อฟัง(ฏออะฮฺ)เพื่อที่ท่านจะได้ตายในการฏออะฮฺ

อัลหาฟิซ อิบนุกะษีร กล่าวว่า

لَقَدْ أَجْرَ اللهُ الكَرِيْمُ عَادَتَهُ بِكَرَمِهِ أَنَّ مَنْ عَاشَ عَلَى شَئٍ مَاتَ عَلَيه وَمَنْ مَاتَ عَلَى شَئ بُعِثَ عَلَيه          

          แท้จริงอัลลอฮผู้ทรงใจบุญยิ่งได้ทรงทำให้ธรรมชาติดำเนินไปด้วยความใจบุญของพระองค์ นั่นคือใครก็ตามที่ใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับสิ่งใด เขาก็จะตายไปพร้อมกับสิ่งนั้น และใครก็ตามที่ตายไปพร้อมกับสิ่งใด เขาก็จะถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาพร้อมกับสิ่งนี้

หากท่านผูกพันอยู่กับการเตาบะฮฺ หากเท้าของท่านก้าวพลาดถลำลงไปในหลุมการฝ่าฝืน(มะอฺศิยะฮฺ) ท่านไม่ได้เป็นมลาอิกะฮฺผู้อยู่ใกล้อัลลอฮ และไม่ใช่นบีที่ถูกส่งมาด้วย จงยกเท้าของท่านขึ้น และจงชำระล้างเสื้อผ้าของท่านด้วยน้ำตาแห่งการเตาบะฮฺ และจงตอบรับพระเจ้าของท่านด้วยความเชื่อมั่นว่า แท้จริงพระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และสูงส่งยิ่ง จะทรงปลื้มปีติกับท่าน และจะทรงอภัยโทษแก่ท่าน ในทุกช่วงเวลาทั้งกลางคืนและกลางวันที่ท่านทำการเตาบะฮฺไปยังพระองค์

لَقَدْ أَجْرَى اللهُ الكَرِيْمُ عَادَتَهُ بِكَرَمِهِ أَنَّ مَنْ عَاشَ عَلَى شَئٍ مَاتَ عَلَيه وَمَنْ مَاتَ عَلَى شَئ بُعِثَ عَلَيه        

          แท้จริงอัลลอฮผู้ทรงใจบุญยิ่งได้ทรงทำให้ธรรมชาติดำเนินไปด้วยความใจบุญของพระองค์ นั่นคือใครก็ตามที่ใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับสิ่งใด เขาก็จะตายไปพร้อมกับสิ่งนั้น และใครก็ตามที่ตายไปพร้อมกับสิ่งใด เขาก็จะถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาพร้อมกับสิ่งนี้

หะดีษหะสันบทหนึ่ง ในสุนันอัตติรมิซีย์ รายงานจากท่านอนัส ท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

 إِذَا أَرَادَ اللَّهُ بِعَبْدٍ خَيْرًا اسْتَعْمَلَهُ ، قِيلَ : وَكَيْفَ يَسْتَعْمِلُهُ ، يَا رَسُولَ اللَّهِ ؟ قَالَ : يُوَفِّقُهُ لِعَمَلٍ صَالِحٍ ثُمَّ يَقْبِضُهُ عَلَيْهِ

          หากอัลลอฮทรงประสงค์ความดีงามแก่บ่าวคนหนึ่งคนใด พระองค์จะทรงใช้เขา มีผู้ถามว่า พระองค์จะทรงใช้เขาอย่างไรหรือ โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ?ท่านตอบว่า พระองค์จะทรงนำทางเขาไปสู่การงานที่ดี หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงเอาชีวิตของเขาไปในขณะที่กำลังทำความดีนั้น 

โอ้อัลลอฮ โปรดประทานการตายที่ดีแก่เราด้วย และการสถาพรและความศานติขอจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่ครอบครัวของท่าน และบรรดาเศาะหาบะฮฺทุกคน

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มิถุนายน 27, 2014 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , ,

หลีกห่างจากฆีบะฮฺและนะมีมะฮฺ

ghibahหลีกห่างจากฆีบะฮฺและนะมีมะฮฺ
ตอบโดย ชัยคฺ อับดุลอะซีซ บิน บาซ เราะหิมะฮุลลอฮ
แปลโดย Zunnur

            คำถาม : เป็นที่สังเกตเห็น ณ ปัจจุบัน เราจะพบว่า นักศึกษาบางส่วนได้ทำลายเกียรติของชัยคฺอาวุโส เมื่อพวกเขาไม่ได้กล่าวสิ่งที่ตรงตามอารมณ์ ความต้องการ และความเชื่อของพวกเขา  ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร?

คำตอบ : เราวิงวอนขอทางนำจากอัลลอฮแก่ตัวเราเองและแก่พวกเขา จำเป็นที่ผู้มีความรู้และคนอื่นๆจะต้องหลีกห่างจากการฆีบะฮฺ(นินทา) , รักษาเกียรติยศของพี่น้องมุสลิม และจำเป็นที่พวกเขาจะต้องหลีกห่างจากการนะมีมะฮฺ(ยุแยง) จำเป็นที่จะต้องหลีกห่างจากการกระทำเหล่านี้ทั้งหมด การฆีบะฮฺและนะมีมะฮฺถือเป็นพฤติกรรมที่น่าเกลียดที่สุด  และจำเป็นที่มุสลิมจะต้องหลีกห่างจากมันทั้งสอง

          ฆีบะฮฺคือการที่ท่านกล่าวถึงเรื่องราวของพี่น้องของท่านในสิ่งที่เขาไม่ชอบ ส่วนนะมีมะฮฺคือการที่ท่านนำคำพูดที่ไม่ดีจากคนกลุ่มหนึ่งไปบอกเล่าแก่คนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือจากคนๆหนึ่งไปบอกแก่คนอีกคนหนึ่ง เพราะการทำเช่นนี้จะก่อให้เกิดการเป็นศัตรูและความเกลียดชัง

มุสลิมทุกคนจำเป็นที่จะต้องหลีกห่างจากการฆีบะฮฺและนะมีมะฮฺ  เขาจะต้องให้เกียรติพี่น้องมุสลิม โดยเฉพาะผู้มีความรู้ เกียรติของพวกเขาจะต้องได้รับการปกป้อง จงหลีกห่างจากการพูดที่เป็นการลดเกียรติของพวกเขา

ส่วนผู้ที่เจตนาเผยแพร่ความชั่วหรือสิ่งอุตริกรรมอย่างเปิดเผย ไม่มีข้อห้ามใดๆที่จะฆีบะฮฺ(เพื่อเปิดโปงความชั่วของ)พวกเขา ตราบใดที่ยังอยู่ในเรื่อง(ความชั่วและบิดอะฮฺ)ที่พวกเขานำเสนออย่างเปิดเผย(แก่สาธารณชน)

ที่มา  http://ibnbaz.org/mat/1891

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 10, 2013 นิ้ว บทความ, ฟัตวา-ถาม/ตอบ

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , ,

 
Blog Abu Umamah™

Media Belajar Dan Berbagi Ilmu Islam Ahlussunnah Wal Jama'ah

Baannada The Coach

บ้านณดาเดอะโค้ช- เพจเลี้ยงลูกเชิงบวกแบบฉบับโค้ชชีวิต เลี้ยง-เล่น-เที่ยว-ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายไปกับลูก

Insyaflah, wahai Salafy!

Kalau tidak ada yang menjelaskan ... bagaimana ummat bisa tahu ?

faham.wordpress.com

Tugas pertama kita adalah memahami Islam, bukan sekedar mengetahui dalilnya

irwandizakaria-blog

Berikan yang Terbaik, Insya Allah akan Dapat Yang Terbaik

Renaissance

ไม่จุดเริ่มต้นไม่มีที่สิ้นสุด

Terjemah Kitab Salaf

membumikan dakwah ahlus sunnah

Bahasa Arab Jarak Jauh at-Taisir

Mempelajari Bahasa al-Qur'an dan as-Sunnah

Ibnu Taimiyah

Menguak keagungan seorang Syaikhul Islam

ABU MUSA AL-ATSARI

Belajar Islam, Menikmati Alam

Meniti Jalan menuntut Ilmu

Membuka Jalan Menuju Surga...

bushrohouse

ห้องสมุดบ้านบุชรอ : ห้องสมุดเพื่ออุมมะฮฺ

Para Ulama Ahlul Hadits

Biografi Ahlul Hadits, Para Sahabat, Tabi’in dan Tabiut Tabi’in beserta Keluarga Rasulullah صلى ا لله عليه وسلم

Salafy

Meneladani Generasi Terdahulu yang Shalih

บ้านเรียนอัลอัรกอม

ปฏิบัติดี วิถีอิสลาม ความรู้กว้างไกล

Mengenal Ajaran Islam Lebih Dekat

Islam, Rumaysho, Salafi, Ahlus Sunnah, Ahlus Sunnah wal Jama'ah, Muslim