RSS

Tag Archives: อุละมาอ์

ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ (ตอนที่ 6.5 – ตอนจบ)

1249325784_0e408cb360_oความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ
(ตอนที่ 6.5 – ตอนจบ : (ต่อ)คำตักเตือนของชัยคฺอัลอัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ)
เขียนโดย 
อุสตาซ อบูอับดุลมุหฺสิน ฟีรันดา อันดิรญา อาบิดีน
แปลและเรียบเรียงโดย 
Zunnur

คำสั่งเสียแด่ชาวสะละฟีย์จากชัยคฺอัลอัลบานีย์ อิมามอะฮฺลุสสุนนะฮฺแห่งศตวรรษนี้[1]

คำสั่งเสียนี้ชัยคฺอัลอัลบานีย์ได้มอบไว้เมื่อท่านล้มป่วยหนัก ท่านลำบากมากในการมอบคำสั่งเสียนี้ เนื่องจากอาการป่วยของท่าน ท่านไอตลอดเวลาขณะกล่าวคำนะศีหะฮฺอันนี้ แต่ด้วยความมานะที่จะเอ่ยคำนะศีหะฮฺแก่ชาวมุสลิมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ชาวสะละฟีย์ ท่านจึงบังคับตัวเองให้เอ่ยคำนะศีหะฮฺนี้ออกมา คำสั่งเสียนี้ท่านมอบไว้ในวันที่ 13 ญุมะดิลอาคิร ฮ.ศ.1419 (ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1998) คือ หนึ่งปีก่อนท่านจะเสียชีวิตไป (ชัยคฺอัลอัลบานีย์เสียชีวิตในวันเสาร์ ที่ 22 ญุมะดิลอาคิร ฮ.ศ.1420 ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1999)
ท่านกล่าวว่า

إِنَّ الْحَمْدَ للهِ نَحْمَدُهُ وَنَسْتَعِيْنُهُ وَنَسْتَغْفِرُهُ، وَنَعُوْذُ بِاللهِ مِنْ شُرُوْرِأَنْفُسِنَا وَمِنْ سَيِّئَاتِ أَعْمَالِنَا، مَنْ يَهْدِاللهُ فَلاَ مُضِلَّ لَهُ وَمَنْ يُضْلِلْ فَلاَهَادِيَ لَهُ وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيْكَ لَهُ وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًاعَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ أَمَّا بَعْدُ،

            คำสั่งเสียของผมสำหรับชาวมุสลิมทุกคนบนโลกใบนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องที่ร่วมกับเราในงานดะอฺวะฮฺที่เต็มไปด้วยความจำเริญ คืองานดะอฺวะฮฺไปสู่อัลกุรอานและอัสสุนนะฮฺ บนแนวทางของอัสสะละฟัศศอลิหฺ ผมขอสั่งเสียแก่พวกเขาและแก่ตัวผมเองเช่นกันว่า….

(1)  จงยำเกรงต่ออัลลอฮ

(2) และจงศึกษาความรู้ที่มีประโยชน์ให้มาก ดังดำรัสของอัลลอฮที่ว่า

وَاتَّقُوا اللَّهَ وَيُعَلِّمُكُمُ اللَّهُ

          และพวกเจ้าจงพึงยำเกรงอัลลอฮเถิด และอัลลอฮนั้นทรงให้ความรู้แก่พวกเจ้า (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 282)

(3) และความรู้ของคนดีนี้(สำหรับพวกเราแล้วความรู้ดังกล่าวนั้นไม่ใช่อะไรอื่นจากอัลกุรอานและอัสสุนนะฮฺ บนแนวทางของอัสสะละฟุศศอลิหฺ และความพยายามที่จะเพิ่มพูนความรู้นี้) พวกเขาศึกษาความรู้ที่ดีนี้ด้วยการปฏิบัติความรู้ดังกล่าวอย่างสุดความสามารถ เพื่อที่ความรู้นี้นั้นจะไม่เป็นบูมเมอแรง(ที่ย้อนกลับมาตี)สำหรับพวกเขา แต่เป็นหลักฐานสำหรับพวกเขาใน…

يَوْمَ لَا يَنفَعُ مَالٌ وَلَا بَنُونَ إِلَّا مَنْ أَتَى اللَّهَ بِقَلْبٍ سَلِيمٍ

          วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่อำนวยประโยชน์ได้เลย เว้นแต่ผู้มาหาอัลลอฮด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส (อัชชุอะรออ์ 26 : 88-89)
(4) ต่อมา ผมขอตักเตือนพวกเขาจากการร่วมติดตามพฤติกรรมของคนจำนวนมากที่ได้หลุดออกจากแถวสะละฟีย์ด้วยการปฏิบัติสิ่งต่างๆซึ่งรวมอยู่ในคำว่าคุรุจญ์(แนวทางเคาะวาริจญ์) แยกตัวออกจากชาวมุสลิมและจากญะมาอะฮฺของพวกเขา

(5) แต่เราขอสั่งใช้พวกเขา(ชาวสะละฟีย์)ให้เป็นเหมือนกับหะดีษเศาะฮีหฺบทหนึ่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า

وَكُوْنُوْا عِبَادَ اللهِ إِخْوَانَا كَمَا أمَرَكُمُ اللهُ تَعَالَى

          และพวกท่านจงเป็นปวงบ่าวของอัลลอฮที่เป็นพี่น้องกัน ดังที่อัลลอฮุ ตะอาลา ได้สั่งใช้พวกท่านเอาไว้ (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ 5/2253 หมายเลข 5717 และมุสลิม หมายเลข 2563)

(6) และจำเป็นสำหรับเรา(ดังเช่นที่ผมได้นำเสนอไปแล้วในการพบเจอครั้งก่อน และผมทวนมันอีกครั้งเพราะการทบทวนนั้นมีประโยชน์ซ่อนอยู่) วาญิบสำหรับพวกเราที่จะต้องดะอฺวะฮฺด้วยความนุ่มนวลอ่อนโยนต่อผู้ที่ขัดแย้งกับงานดะอฺวะฮฺของเรา เราจะต้องอยู่กับดำรัสของอัลลอฮเสมอ คือดำรัสที่ว่า

ادْعُ إِلَىٰ سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ  وَجَادِلْهُم بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ  إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ بِمَن ضَلَّ عَن سَبِيلِهِ  وَهُوَ أَعْلَمُ بِالْمُهْتَدِينَ

          จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าด้วยอัลหิกมะฮฺ และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง (อันนะหฺลุ 16 : 125)
คนที่คู่ควรที่สุดที่เราจะใช้ความมีหิกมะฮฺนี้ก็คือ คนที่เป็นปรปักษ์กับเรามากที่สุด ไม่ว่าจะในเรื่องพื้นฐาน(งานดะอฺวะฮฺ)ของเราหรือสวนทางกับอะกีดะฮฺของเรา กระทั่งเราไม่รวมเอาความหนักอึ้งของงานดะอฺวะฮฺที่เที่ยงตรง(ซึ่งอัลลอฮทรงประทานให้แก่เรา)กับความหนักอึ้งของวิธีการที่น่าเกลียดในการดะอฺวะฮฺไปสู่อัลลอฮ[2] ดังนั้น ผมหวังจากพี่น้องในประเทศอิสลามต่างๆว่า พวกเขาจะแสดงมารยาทอิสลามนี้ และหวังในพระพักตร์ของอัลลอฮขณะปฏิบัติมารยาทต่างๆนี้ โดยไม่หวังการตอบแทนหรือคำขอบคุณใดๆ

น่าจะพอเพียงแค่นี้ มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล

_______________________________

[1] แปลจาก สิลสิละฮฺ อัลฮุดา วันนูร เทปหมายเลขที่ 900 หัวข้อ “วะศิยยาต อิมาม อัสสุนนะฮฺ อิลา อุมูมิล อุมมะฮฺ-คำสั่งเสียของอิมามแห่งอัสสุนนะฮฺแด่มวลประชาชาติอิสลาม”

[2] ประโยคทองของชัยคฺอัลอัลบานีย์นี้ ชัยคฺสาลิม อัลหิลาลีย์เคยนำเสนอ ซึ่งเราเคยได้ยินกับหูของตัวเองในการบรรยายของท่านในโรงแรมแห่งหนึ่งที่เมืองมักกะฮฺ ในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ปี ค.ศ.2003 ความหมายคำพูดของชัยคฺอัลอัลบานีย์ประโยคนี้คือ ดะอฺวะฮฺสะละฟียะฮฺ คืองานดะอฺวะฮฺที่หนักอึ้ง เนื่องจากต้องเผชิญหน้ากับงานดะอฺวะฮฺที่หลงผิดและเบี่ยงเบนอื่นๆที่ได้แพร่กระจายอยู่ในสังคมมุสลิม งานดะอฺวะฮฺที่สวนทางกับความคิดหรือสิ่งที่เกิดขึ้นและแพร่หลายในสังคมนั้นถือเป็นงานดะอฺวะฮฺที่หนักอึ้ง บ่อยครั้งที่สังคมเกิดต่อต้านงานดะอฺวะฮฺสะละฟียะฮฺ เพราะมันขัดแย้งกับศาสนาของบรรพบุรุษของพวกเขา ดังนั้นเมื่องานดะอฺวะฮฺสะละฟียะฮฺเป็นงานดะอฺวะฮฺที่หนักอึ้ง เราก็อย่าได้นำเสนองานดะอฺวะฮฺดังกล่าวแก่สังคมด้วยวิธีการที่หนักอึ้งเช่นกัน คือ ด้วยวิธีการแข็งกร้าว กระด้าง และหยาบคาย สิ่งนี้จะทำให้สังคมรู้สึกลำบากที่จะยอมรับงานดะอฺวะฮฺสะละฟียะฮฺ


หมายเหตุ
: หวังว่าบทความตอนยาวนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมเราในปัจจุบันยังขาดความรู้และมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปมาก จนกลายเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวายมากมาย ขออัลลอฮทรงให้การงานนี้มีประโยชน์ แก่ตัวผมเองและแก่สังคมมุสลิมโดยรวม และขอพระองค์ทรงตอบรับมันด้วยเถิด

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , , ,

ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ (ตอนที่ 6.4)

ชัยคฺ อัลบานีย์ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ
(ตอนที่ 6.4 : (ต่อ)คำตักเตือนของชัยคฺอัลอัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ)
เขียนโดย อุสตาซ อบูอับดุลมุหฺสิน ฟีรันดา อันดิรญา อาบิดีน
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

        ดำรัสของอัลลอฮที่ว่า “และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า” สิ่งนี้เรียกร้องสิ่งที่ผมเพิ่งอธิอบายไป คือเรียกร้องให้มีขันติธรรมและขันติธรรมนี้เรียกร้องจากเรา 2 ประการ

          ประการแรกพวก เราแต่ละคนจะต้องปลูกฝังไว้ในความนึกคิดว่าวะฮีย์จะไม่ลงมาเพื่อสนับ สนุน/ยืนยันทัศนะของเรา ฉะนั้นเป็นไปได้ว่าเรานี่แหล่ะที่ผิดและพี่น้องที่กำลังโต้แย้งเรานั้นคือ ฝ่ายที่ถูกต้อง สมควรที่เราทุกคนจะต้องนึกถึงเรื่องนี้อยู่เสมอในยามถกเถียงกับพี่น้องเรา ไม่ได้มะอฺศูม(ไร้ความผิด) ไม่ว่าเราจะเป็นใครก็ตาม!! ไม่ว่าเราจะยังเป็นนักศึกษาหรือเป็นผู้รู้ก็ตามบ่อยครั้งไปที่เกิดเหตุการณ์ อย่างที่บรรดาอุละมาอ์ได้กล่าวไว้ว่า “บางครั้งก็พบในคนรุ่นหลังสิ่งซึ่งไม่พบในคนรุ่นแรก” บางครั้งผู้รู้ก็ผิดพลาด ในขณะที่นักศึกษานั้นถูกต้องและบางครั้งนักศึกษาก็ผิดพลาด ในขณะที่ประชาชนทั่วไป(เอาวาม)นั้นถูกต้อง
ประการที่สองการตระหนักถึงเรื่องนี้อยู่เสมอทำให้คนๆหนึ่งรู้สึกสบายใจและไม่รีบร้อนอีกทั้งมีความนุ่มนวลอ่อนโยนต่อพี่น้องเมื่อเขาสนทนากัน

สิ่งนี้ถือเป็นมารยาทที่นำมาจากอัลกุรอานอัลกะรีม เนื่องจากอัลลอฮได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า เมื่อครั้งที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมสนทนากับพวกมุชริกีนนั้น(และแน่นอนชาวมุชริกีนที่หลงผิดนั้นแตกต่าง อย่างมากกับท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮฺที่อยู่บนสัจธรรม)แต่กระนั้นอัลลอฮก็ สอนให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมปฏิบัติมารยาทที่ดีงามนี้ซึ่งเราเรียกว่า “ขันติธรรม” ดังนั้นท่านนบีจึงกล่าว(ตามที่ระบุในอัลกุรอาน)ว่า

وَإِنَّا أَوْ إِيَّاكُمْ لَعَلَىٰ هُدًى أَوْ فِي ضَلَالٍمُّبِينٍ قُل لَّا تُسْأَلُونَ عَمَّا أَجْرَمْنَا وَلَا نُسْأَلُ عَمَّاتَعْمَلُونَ

            และแท้จริง ไม่เราก็พวกท่านแน่นอนที่อยู่บนแนวทางที่ถูกต้องหรืออยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้งจงกล่าวเถิดมุหัมมัด“พวกท่านจะไม่ถูกสอบสวนเกี่ยวกับที่เราทำผิด และเราก็จะไม่ถูกสอบสวนเกี่ยวกับที่พวกท่านกระทำ” (สะบะอ์ 32 : 24-25)

นี่คือระดับขั้นที่สูงสุดของความขันติธรรมขณะสนทนาไม่ได้หมายความว่ามุสลิม พ่ายแพ้และทิ้งอะกีดะฮฺของเขาเพราะขันติธรรมแต่ในอายะฮฺนี้นั้นเป็นการยืน ยันว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจากทั้งสองฝ่ายที่กำลังสนทนากันนั้นต้องมีฝ่ายหนึ่งที่ถูก ต้องและอีกฝ่ายหนึ่งหลงผิดอย่างแน่นอนแล้วกลุ่มหรือฝ่ายนั้นคือใครกัน…? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมไม่ได้บอกว่าใครคือกลุ่มนั้นในอายะฮฺนี้ แต่ครั้นเมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม เชิญชวนพวกเขาไปสู่การศรัทธาต่ออัลลอฮท่านบอกกับพวกเขาเสมอว่าหากพวกเขา ปฏิเสธต่อสิ่งที่ท่านนำมาจากอัลลอฮท่านก็จะพูดกับพวกเขาว่า

إِنَّكُمْ وَمَا تَعْبُدُونَ مِن دُونِ اللَّهِ حَصَبُجَهَنَّمَ أَنتُمْ لَهَا وَارِدُونَ

            แท้ จริงพวกเจ้า (มุชริกีน) และสิ่งที่พวกเจ้าเคารพบูชาอื่นจากอัลลอฮนั้นทั้งหมดนั้นเป็นเชื้อเพลิงของ นรก โดยพวกเจ้าจะเข้าไปอยู่ในนั้น (อัลอัมบิยาอ์ 21 : 98)
ดังนั้นเมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมอธิบายแก่พวกเขาเกี่ยวกับอะกีดะฮฺของท่าน และบอกถึงบั้นปลายของพวกเขาหากพวกเขายังดื้อดึงต่อต้านท่าน แต่เมื่อท่านสนทนากับพวกเขา ท่านจะพูดว่า

وَإِنَّا أَوْ إِيَّاكُمْ لَعَلَىٰ هُدًى أَوْ فِي ضَلَالٍمُّبِينٍ

            และแท้จริงไม่เราก็พวกท่านแน่นอนที่อยู่บนแนวทางที่ถูกต้องหรืออยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง (สะบะอ์ 32 : 24)

นี่คือรูปแบบการเผยแพร่ของท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม กับชาวมุชริก แล้วอย่างไรกันที่ควรเป็นเมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเราสนทนากับพี่น้องของ เรา(ชาวสะละฟีย์)เอง??แน่นอนและไม่สงสัยเลยว่า จำเป็น(วาญิบ)ที่จะต้องมีความถ่อมตนและขันติธรรมต่อกัน และไม่แข็งกระด้างใส่กันเฉกเช่นท่าทีของคนๆหนึ่งต่อศัตรูของเขาอายะฮฺนี้ถือ เป็นอายะฮฺที่สำคัญมากและจำเป็นที่เราจะต้องระลึกถึงมันด้วยดี

وَإِنَّا أَوْ إِيَّاكُمْ لَعَلَىٰ هُدًى أَوْ فِي ضَلَالٍمُّبِينٍ قُل لَّا تُسْأَلُونَ عَمَّا أَجْرَمْنَا وَلَا نُسْأَلُ عَمَّاتَعْمَلُونَ

            และแท้จริง ไม่เราก็พวกท่านแน่นอนที่อยู่บนแนวทางที่ถูกต้องหรืออยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้งจงกล่าวเถิดมุหัมมัด“พวกท่านจะไม่ถูกสอบสวนเกี่ยวกับที่เราทำผิดและเราก็จะไม่ถูกสอบสวนเกี่ยวกับที่พวกท่านกระทำ” (สะบะอ์ 32 : 24-25)

มีหะดีษเศาะฮีหฺบางบทที่เราควรปฏิบัติอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่เพียงรู้เท่านั้นนั่นก็คือคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า

لاَ تَقَاطَعُوْا وَلاَ تَدَابَرُوْاوَلاَ تَبَاغَضُوْا وَلاَ تَحَاسَدُوْا وَكُوْنُوْاعِبَادَ اللهِ إِخْوَانًا وَلاَيَحِلُّ لِمُسْلِمٍ أَنْ يَهْجُرَأَخَاهُ فَوْقَ ثَلاَثٍ

            พวกท่านอย่าได้ตัดความสัมพันธ์ต่อกันหัน หลังให้กัน โกรธเกลียดกัน และอิจฉาริษาต่อกันและพวกท่านจงเป็นบ่าวของอัลลอฮที่เป็นพี่น้องกันเถิด และไม่อนุญาตให้มุสลิมตัดสัมพันธ์จากพี่น้องของเขาเกิน3 วัน (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ 4/329 หมายเลขที่ 1935 (ด้วยสำนวนนี้)และชัยคฺอัลอัลบานีย์รับรองว่าเศาะฮีหฺ)
คำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า “และไม่อนุญาตให้มุสลิมทำการฮัจรฺ(ตัดสัมพันธ์จาก)พี่น้องของเขาเกิน 3 วัน” ทำไมเขาถึงทำการฮัจรฺล่ะ? เพราะความริษยาและเพราะความเกลียดชังไม่ใช่เพราะเรื่องศาสนา ไม่ใช่เพราะเขาฝ่าฝืนอัลลอฮและเราะสูลขดงพระองค์แต่ที่น่าเกลียดมากก็ว่าได้คือ เขาฝ่าฝืนต่ออัลลอฮและเราะสูลของพระองค์เนื่องจากความเข้าใจที่น่ารังเกียจ ของเขาในมุมมองของฉัน(ผู้ที่ทำการฮัจรฺ)แต่ทว่าเขาไม่ได้ทำการฝ่าฝืน(มะอฺศียะฮฺ)อย่างโจ่งแจ้งเขาไม่เชื่อว่าสิ่งที่เขาทำนั้นคือการฝ่าฝืน(ทั้งที่เขา กำลังทำสิ่งที่ฝ่าฝืน)แล้วคนหนึ่งในหมู่พวกเขาก็ทำการฮัจรฺต่อเขาทันที การฮัจรฺนั้นแน่นอนว่ามีบัญญัติไว้ แต่การฮัจรฺเนื่องจากมุมมองและทัศนะที่แตกต่างกันนั้นถือเป็นการหันหลังให้กันที่ถูกตำหนิ ซึ่งถูกกล่าวไว้ในตอนต้นของหะดีษนี้

لاَ تَقَاطَعُوْا وَلاَ تَدَابَرُوْا وَلاَ تَبَاغَضُوْاوَلاَ تَحَاسَدُوْا

            พวกท่านอย่าได้ตัดความสัมพันธ์ต่อกันหันหลังให้กัน โกรธเกลียดกัน และอิจฉาริษาต่อกัน

และพฤติกรรมนี้(การอิจฉาริษยากัน)นั้นแพร่กระจายในหมู่พวกเราชาวสะละฟีย์ของเรา บางครั้งความขัดแย้งก็เกิดขึ้นเพราะประเด็นปัญหาเรื่อง “ใคร กันที่เหมาะสมกว่าที่จะขึ้นบรรยายบักรฺหรืออัมรฺ?” , “ฉันดีกว่าที่จะทำการสอน” ,(แล้วก็ถูกโต้กลับมาว่า) “ไม่ เขาคนนั้นมากกว่าที่เหมาะสมจะทำการสอน” โอ้พี่น้องทุกท่านจงตักวาต่ออัลลอฮเกี่ยวกับตัวพวกท่านเองเถิด เมื่อมีคนที่มีวิชาความรู้น้อยแล้วเขาต้องการเผยแพร่ความรู้ของเขาต่อหน้า ผู้คน ก็ปล่อยให้เขาเผยแพร่ไปปล่อยให้เขาพูด และจงช่วยเหลือเขาเถิด ท่านทั้งหลายอย่ามองตัวเองด้วยสายตาที่ดูแคลนหรือหยิ่งยโสต่อหน้าเขาเนื่อง จากท่านรู้สึกว่าความรู้ของเขาด้อยกว่าท่านและบางครั้งเรื่องก็กลับตรงข้าม กัน(คือเขาเป็นฝ่ายรู้สึกว่าตนมีความรู้มากกว่าท่านหรือเขามีความรู้เหนือ กว่าท่านจริงๆ)แล้วความขัดแย้ง ความแตกแยกก็เกิดขึ้น และเรื่องที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม สั่งห้ามไว้ในหะดีษเศาะฮีหฺนี้ก็เกิดขึ้นตามมา Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , , , ,

ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ (ตอนที่ 6.1)

12856091441664175474right-way-wrong-way-hi
ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ

(ตอนที่ 6.1 : คำตักเตือนของชัยคฺอัลอัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ)
เขียนโดย อุสตาซ อบูอับดุลมุหฺสิน ฟีรันดา อันดิรญา อาบิดีน
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

เกริ่นนำ :

เพื่อการใคร่ครวญร่วมกัน….หนึ่งในบรรดาสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกแยกก็คือ อัลบัฆยุ

หากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยังอยู่ในเรื่องที่อนุญาตให้ทำการอิจติฮาดได้ ความขัดแย้งนั้นก็จะไม่ก่อให้เกิดฟิตนะฮฺและความแตกแยก ตราบใดที่บุคคลที่ขัดแย้งกันนั้นไม่มีลักษณะอัลบัฆยุ แต่หากมีลักษณะอัลบัฆยุแล้ว แม้ความขัดแย้งนั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหน ก็จะก่อให้เกิดฟิตนะฮฺและความแตกแยก

ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “แต่การอิจติฮาดที่ได้รับอนุญาตนั้น(ผลร้ายของมัน)จะไม่ถึงขั้นเกิดฟิตนะฮฺและความแตกแยก เว้นแต่หากมาพร้อมกับอัลบัฆยุ หาใช่การอิจติฮาดเดี่ยวๆไม่ ดังที่อัลลอฮได้ตรัสไว้ว่า

وَمَا اخْتَلَفَ الَّذِينَ أُوْتُواْ الْكِتَابَ إِلاَّ مِن بَعْدِ مَا جَاءهُمُ الْعِلْمُ بَغْياً بَيْنَهُمْ 

          และบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์มิได้ขัดแย้งกันนอกจากหลังจากที่ได้รับความรู้มายังพวกเขาเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากอัลบัฆยุระหว่างพวกเขาเอง (อาลิอิมรอน 3 : 19)

ฉะนั้น ฟิตนะฮฺและความแตกแยกไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการอิจติฮาดที่อนุญาต แต่เกิดขึ้นเมื่อมีส่วนหนึ่งจากอัลบัฆยุต่างหาก” (อัลอิสติกอมะฮฺ 1/31)

ลักษณะอัลบัฆยุนี้แหล่ะที่เป็นสาเหตุให้อะฮฺลุลกิตาบขัดแย้งและแตกแยกกัน ทั้งๆที่พวกเขาอยู่บนความรู้อย่างชัดเจน อัลลอฮตรัสว่า

وَمَا تَفَرَّقُوا إِلَّا مِن بَعْدِ مَا جَاءهُمُ الْعِلْمُ بَغْياً بَيْنَهُمْ 

            และพวกเขามิได้แตกแยกกันเว้นแต่หลังจากได้มีความรู้มายังพวกเขาแล้ว ทั้งนี้เพราะอัลบัฆยุระหว่างพวกเขากันเอง (อัชชูรอ 42 : 14)

ท่านอิบนุตัยมียะฮฺกล่าว(แสดงความเห็นต่ออายะฮฺนี้)ว่า Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ (ตอนที่ 5)

wrong-way-sign-medium_3731515838-500x265
ความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการฮัจรฺต่ออะฮฺลุลบิดอะฮฺ
(ตอนที่ 5 : ตัวอย่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับคิลาฟอิจติฮาดียะฮฺระหว่างบรรดาอุละมาอ์ในเรื่องการตัดสินผู้คน)
เขียนโดย อุสตาซ อบูอับดุลมุหฺสิน ฟีรันดา อันดิรญา อาบิดีน
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

บรรดาอุละมาอ์มีความเห็นที่ขัดแย้งกันในประเด็นปัญหาต่างๆของศาสนา และบางครั้งพวกเขาก็ขัดแย้งกันเกี่ยวกับตัดสินใครคนใดคนหนึ่งด้วย คนๆนี้เป็นมุบตะดิอฺหรือไม่? หรือมีสิทธิรับรายงานจากคนๆนี้หรือเปล่า? ใครก็ตามแม้มีความรู้เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับอัลญัหรฺ วัตตะอ์ดีล เขาก็จะพบความขัดแย้งมากมายในหมู่อะฮฺลุลหะดีษเกี่ยวกับการตัดสินบรรดานักรายหะดีษ และมันมากมายจริงๆ….

เช่นเดียวกับในยุคนี้ ปรากฏชัดว่าบรรดาอุละมาอ์บางส่วนก็มีความขัดแย้งกันเรื่องการตัดสินคนบางคนว่า เขาเป็นมุบตะดิอฺหรือไม่ ต่อไปนี้ผมจะนำเสนอความขัดแย้งส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น

หนึ่ง : ความขัดแย้งระหว่างชัยคฺอัลอัลบานีย์กับชัยคฺมุกบิลในเรื่องการตัดสินชัยคฺมุหัมมัด เราะชีด ริฎอ เราะหิมะฮุมุลลอฮ

ชัยคฺมุกบิลบอกว่า ชัยคฺมุหัมมัด เราะชีด ริฎอ อยู่บนความหลงผิด ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อ “อัศเศาะฮีหฺ อัลมุสนัด มิน ดะลาอินีน นุบุววะฮฺ” (หน้าที่ 10)  และคำอธิบายที่ยืดยาวของท่านในหนังสือ “รุดูด อะฮฺลิลอิลมิ อะลา อัฏเฏาะอฺอินิน ฟี หะดีษ อัสสิหรฺ วะบะยานิ บุดอิ มุหัมมัด เราะชีด ริฎอ อะนิส สะละฟียะฮฺ” (แปลว่า การตอบโต้ของบรรดาอุละมาอ์ต่อคนที่ต่อว่าหะดีษเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และคำอธิบายเกี่ยวกับความห่างไกลของมุหัมมัด เราะชีด ริฎอ จากความเป็นสะละฟีย์)
ชัยคฺอัลอัลบานีย์ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของชัยคฺมุกบิล และท่านได้แสดงความเห็นต่อคำพูดของชัยคฺมุกบิล โดยกล่าวว่า “…ฉันรู้สึกว่านี่คือการอธิบายที่กว้างเกินไปซึ่งไม่ถูกที่ของมันคือ ในการเกี่ยวลักษณะหลงผิด(เฎาะลาล)ต่อคนเช่นนี้(คือชัยคฺมุหัมมัด เราะชีด ริฎอ)ที่ตามความเชื่อมั่นของฉันแล้ว เขามีบุญคุญต่อชาวสุนนะฮฺจำนวนมากในยุคนี้(ดูสิท่านผู้อ่านทั้งหลาย ดูการมุวาซะนะฮฺของชัยคฺอัลอัลบานีย์)คือเป็นเพราะท่านได้เผยแพร่สุนนะฮฺและเชิญชวนไปสู่สุนนะฮฺในวารสาร “อัลมะนาร” ที่เลื่องลือของท่าน อีกทั้งอิทธิพลของมันยังแผ่กระจายไปยังประเทศมุสลิมที่ไม่ใช่อาหรับต่างๆมากมาย ดังนั้นฉันเห็นว่า คำพูดนี้คือคำพูดที่เลวเถิด(ฆุลุวฺ) ที่แท้จริงแล้วไม่ควรออกมาจากคนมุกบิลพี่น้องของเรา”
แม้กระนั้นก็ตาม

تُرِيْدُ صَدِيْقًا لاَ عَيْبَ فِيْهِ      وَهَلِ الْعُوْدُ يَفُوحُ بِلاَ دُخَانٍ

ท่านต้องการเพื่อนคนหนึ่งที่ไม่มีข้อบกพร่องใดเลยๆ มีด้วยหรือต้นกฤษณาที่ส่งกลิ่นหอมโดยไม่พ่นควันออกมา? (สิลสิละฮฺ อัลฮุดา วันนูร เทปหมายเลขที่ 32)

แต่ทว่า กระนั้นก็ตามชัยคฺอัลอัลบานีย์เองยังบอกว่า ประเด็นปัญหานี้คือเรื่องอิจติฮาดียะฮฺ (สิลสิละฮฺ อัลฮุดา วันนูร เทปหมายเลขที่ 32)
ท่าทีเห็นแย้งของชัยคฺอัลอัลบานีย์ต่อชัยคฺมุกบิลนั้นแน่นอนว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงความรักของท่านต่อชัยคฺมุกบิลแต่อย่างใด ในการบรรยายครั้งหนึ่ง ท่านยกย่องชมเชยชัยคฺมุกบิล อีกทั้งยังปกป้องชัยคฺมุกบิลด้วยการตอบโต้บุคคลที่ต่อว่าด่าทอชัยคฺมุกบิลอีกด้วย(สิลสิละฮฺ อัลฮุดา วันนูร เทปหมายเลขที่ 851) ส่วนคำยกย่องสรรเสริญของชัยคฺมุกบิลที่มีให้ชัยคฺอัลอัลบานีย์นั้นมีมากมาย ขออัลลอฮทรงเมตตาท่านทั้งสองด้วยความเมตตาที่กว้างขวาง ในฐานะที่ท่านสองเป็นแบบอย่างของการยกย่องชมเชยกันและกัน เชิญฟังได้ในสิลสิละฮฺ อัลฮุดา วันนูร เทปหมายเลขที่ 850

สอง : ความขัดแย้งระหว่างชัยคฺมุกบิลกับบรรดาชัยคฺอาวุโสทั้งหลายในเรื่องการตัดสินท่านอบูหะนีฟะฮฺ เราะหิมะฮุมุลลอฮ
ในเรื่องนี้ชัยคฺมุกบิลขัดแย้งกับบรรดาชัยคฺสะละฟีย์แทบทั้งหมดเลย เช่น ชัยคฺอัลอัลบานีย์(ดู มุนาเกาะชะฮฺชัยคฺอัลอัลบานีย์ต่อหลักฐานที่ระบุโดยชัยคฺมุกบิล ในสิลสิละฮฺ อัลฮุดา วันนูร เทปหมายเลขที่ 56) , ชัยคฺอิบนุบาซ , ชัยคฺอิบนุอัลอุษัยมีน , ชัยคฺศอลิหฺ อัลเฟาซาน , ชัยคฺอับดุลอะซีซ อาลุชัยคฺ , ชัยคฺศอลิหฺ อาลุชัยคฺ และชัยคฺท่านอื่นๆ จนกระทั่งบัดนี้ผู้เขียนยังไม่พบว่ามีอุละมาอ์ท่านใดแม้แต่คนเดียวที่สนับสนุนชัยคฺมุกบิลในประเด็นท่านอบูหะนีฟะฮฺเลย วัลลอฮุอะอฺลัม บรรดาชัยคฺอะฮฺลุสสุนนะฮฺแทบทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าอิมามอบูหะนีฟะฮฺคือหนึ่งในบรรดาอิมามอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ดังนั้นมัซฮับของท่านจึงเป็นมัซฮับที่ได้รับการยอมรับมาตั้งแต่อดีต แต่ชัยคฺมุกบิลไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ (ดู หนังสือของท่านชื่อ นัชรฺ อัศเศาะหีฟะฮฺ ฟี ซิกริศ เศาะฮีหฺ มิน อักวาล อะอิมมะติล ญัรหฺ วัตตะอ์ดีล ฟี อบีหะนีฟะฮฺ)
ชัยคฺอิบนุอุษัยมีนเคยถูกถามว่า “ชัยคฺที่เคารพ เราคือพี่น้องของท่านชาวอินโดนีเซีย เรารักท่านเพื่ออัลลอฮ เรายึดตามข่าวคราวเกี่ยวกับท่านและฟัตวาต่างๆของท่านด้วย อีกทั้งเราได้รับประโยชน์มากมายจากความรู้ของท่านผ่านหนังสือและเทปบรรยายทั้งหลายของท่าน ในโอกาสนี้เราขอฟัตวาจากท่านเกี่ยวกับข้อเขียนหนึ่งที่เขียนโดยดาอีย์คนหนึ่งในวารสารฉบับหนึ่งที่ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีชื่อว่า “วารสารสะละฟีย์” (ฉบับหมายเลขที่ 20 ปีฮิจเราะฮฺที่ 1418/คริสต์ศักราช 1997 และฉบับหมายเลขที่ 29 ปีคริสต์ศักราช 1999) ดาอีย์คนนั้นกล่าวว่า “อะฮฺลุรเราะอฺยุคือพวกที่ชอบใช้ความคิดสติปัญญาโดยแสดงหลักฐานด้วยการกิยาสมากกว่าด้วยอัลกุรอานและอัลหะดีษ ผู้นำของพวกเขาคืออบูหะนีฟะฮฺ อันนุอฺมาน บินษาบิต…”” และต่อๆไปนั้นสามารถกลับไปดูได้ในกิตาบุลอิลมี หน้าที่ 304-305
ชัยคฺตอบว่า “ท่าทีที่ถูกต้องต่อบรรดาอิมามที่มีบรรดาผู้ติดตามที่มีผู้เป็นพยานยืนยันในความเที่ยงธรรมและการยืนหยัดมั่นคงในศาสนาของพวกเขาคือ เราจะไม่โจมตีพวกเขาและเราเชื่อมั่นว่าความผิดพลาดที่เกิดจากพวกเขาอันเป็นผลจากการอิจติฮาดของพวกเขา มุจตะฮิดคนหนึ่งของอุมมะฮฺนี้ย่อมได้รับผลบุญแน่นอน หากการอิจติฮาดของเขาถูกต้อง เขาจะได้รับ 2 ผลบุญ และหากผิดพลาด ก็จะได้รับ 1 ผลบุญ และความผิดพลาดของเขานั้นได้รับการให้อภัย
และอบูหะนีฟะฮฺ(เราะหิมะฮุลลอฮ)นั้นเหมือนกับบรรดาอิมามคนอื่นๆซึ่งมีทั้งความผิดพลาดและความถูกต้อง(นี่คือการมุวาซะนะฮฺของชัยคฺอิบนุอุษัยมีนในการหุกุ่ม) ไม่มีใครมะอฺศูมนอกจากท่านเราะสูลุลลอฮ ดังคำพูดของอิมามมาลิกที่ว่า “ทุกคนนั้นความเห็นของเขาถูกตอบรับและถูกทิ้งไปนอกจากเจ้าของกุบูรนี้” และท่านก็ชี้ไปยังกุบูรของท่านเราะสูลุลลอฮ
ที่จำเป็นคือ การหักห้ามตนเองจาก(การตำหนิด่าทอ)บรรดาอิมามของชาวมุสลิม แต่ความเห็นหนึ่งนั้นหากเป็นความเห็นที่ผิด ความเห็นนั้นก็ควรถูกกล่าวถึงโดยไม่มีการตำหนิผู้กล่าวความเห็นนั้น คนๆหนึ่งควรกล่าวถึงความคิดเห็นที่ผิดพลาดนั้น แล้วหักล้างมัน นี่คือแนวทางที่ปลอดภัย” (ดู กิตาบุล อิลมี หน้าที่ 304-306)
เป็นที่ชัดเจนว่า ชัยคฺมุกบิลสวนทางกับบรรดาอุละมาอ์สะละฟีย์ส่วนใหญ่ในเรื่องการตัดสินท่านอบูหะนีฟะฮฺ แต่ก็หากได้เกิดความวุ่นวายใดๆระหว่างชัยคฺมุกบิลกับบรรดาอุละมาอ์เหล่านั้นไม่ Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ผมไม่ได้มาดูช้าง

african-elephant_435_990x742

#ผมไม่ได้มาดูช้าง

ชัยคฺศอลิหฺ บินอับดิลอะซีซ อาลุ ชัยคฺ หะฟิเซาะฮุลลอฮ เล่าว่า

“ขณะที่อิมามมาลิกกำลังอ่านในมัสญิดเพื่อรายงานหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ข้างๆท่านนั้นมียะหฺยา บินยะหฺยา อัลลัยษีย์(หนึ่งในผู้รายงานหนังสืออัลมุวัฏฏออ์จากท่าน)อยู่ด้วย และมีนักศึกษาคนอื่นๆอยู่รายล้อมอิมามมาลิก

ทันใดนั้นก็มีคนตะโกนขึ้นว่า “ช้างตัวใหญ่ได้มาถึงเมืองมะดีนะฮฺแล้ว!!”

(ขณะนั้น) ไม่มีชาวเมืองมะดีนะฮฺคนใดที่เคยเห็นช้าง เพราะช้างไม่มีในมะดีนะฮฺ ดังนั้นทุกคนจึงรีบลุกขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อไปดูช้าง และทิ้งอิมามมาลิกไว้(ที่มัสญิด) ยกเว้นยะหฺยา บินยะหฺยา อัลลัยษีย์ คนเดียว

อิมามมาลิกถามยะหฺยาว่า “ทำไม(เจ้าไม่ออกไปด้วยล่ะ)? เจ้าเคยเห็นช้างแล้วหรือ? ยะหฺยาตอบว่า “แท้จริงฉันทำการเดินทาง(จากอันดาลุส-สเปนมายังมะดีนะฮฺ)เพียงเพื่อมองดูอิมามมาลิก ไม่ใช่เพื่อมาดูช้าง!!””

ด้วยเหตุนี้เอง อัลลอฮ ญัลละวะอะลา จึงได้ประทานความดีงามแก่ท่าน ให้การรายงานที่น่าเชื่อถือที่สุดจากหนังสืออัลมุวัฏฏออ์ของอิมามมาลิก ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะจากซีกโลกตะวันออกและตะวันตก (หนึ่งในนั้น)คือการรายงานยะหฺยา บินยะหฺยา อัลลัยษีย์ ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นลูกศิษย์รุ่นเล็ก(ศิฆอร)ของอิมามมาลิก มีบางรายงานจากคนที่สถานะเหนือกว่าท่าน แต่มันกลับไม่ได้ถูกบันทึกและตอบรับ

(จากเทปบรรยายของท่าน หัวข้อ “อิอฺติศ็อม บิลกิตาบ วัสสุนนะฮฺ” มีให้โหลดในเว็ป Sahab.net)

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , ,

ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ : แบบอย่างในเรื่องความอิคลาศ

sahabeler-ve-tabiin-660x330
ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ
: แบบอย่างในเรื่องความอิคลาศ
เขียนโดย อุสตาซ มุคตาร ริฟาอีย์
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

            มองย้อนไปในอดีต สืบอ่านประวัติศาสตร์ ปรากฏมีเรื่องราวน่าอัศจรรย์ใจมากมายที่ถูกจารึกไว้ มนุษย์ผู้ถูกเลือกสรร ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล การอ่านและศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขานั้นเสมือนเป็นการอ่านและศึกษาความมหัศจรรย์ บางคนก็เกิดรู้สึกประทับใจ มีความสุข ประหลาดใจ และเกิดคำถามขึ้นว่า “เราจะทำเหมือนพวกเขาได้ไหม?” แต่กระนั้นพวกเราถูกสั่งใช้ให้เจริญรอยตามพวกเขา เลียนแบบบรรดาผู้ทรงเกียรติทั้งหลายเพื่อที่เราจะได้อยู่ในหมู่พวกเขาด้วย

ในบรรดาตาบิอีนลูกศิษย์ของบรรดาเศาะหาบะฮฺนั้น มีชายคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องความขยันขันแข็งในการทำอิบาดะฮฺ ท่านมีชื่อว่า อบูบักรฺ มุหัมมัด บินวาสิอฺ บินญาบิร อัลอัคนัส ผู้เป็นอิมามร็อบบานีย์และเป็นแบบอย่างที่ดีงาม บ้างก็เรียกว่า อบูอับดิลลาฮ อัลอัซดีย์ อัลบัศรีย์ เป็นอาลิมใหญ่คนหนึ่งในยุคสมัยของท่านเอง หะดีษของท่านได้รับการรายงานต่อโดยอิมามมุสลิม , อบูดาวูด , อัตติรมิซีย์ และอันนะสาอีย์

ท่านศึกษาหะดีษจากท่านอนัส บินมาลิก , อุบัยดฺ บินอุมัยรฺ , มุฏ็อรริฟ บินอัชชิคิร , อับดุลลอฮ บินอัศศอมิต , อบูศอลิหฺ อัสสัมมาน , มุหัมมัด บินสีรีน และคนอื่นๆ ท่านรายงานหะดีษไม่มาก

ด้วยกับสถานะของท่านนั้น มีบรรดาอุละมาอ์มากมายที่มาศึกษาและรับความรู้จากท่าน ลูกศิษย์ส่วนหนึ่งของท่านได้แก่ ฮิชาม บินหัสสาน , อัซฮัร บินสินาน , อิสมาอีล บินมุสลิม อัลอับดีย์ , สุฟยาน อัษเษารีย์ , มะอฺมัร , หัมมาด บินสะละมะฮฺ , สัลลาม บินอบีมุฏีอฺ , ศอลิหฺ อัลมุรรีย์ , หัมมาด บินซัยดฺ , ญะอฺฟัร บินสุลัยมาน อัฎฎุบะอีย์ , นูหฺ บินก็อยสฺ , สัลลาม อัลกอรีย์ และมุหัมมัด บินอัลฟัฎลฺ บินอะฏียะฮฺ

อลี บินอัลมะดีนีย์ กล่าวว่า “ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ มีสายรายงานหะดีษจำนวน 15 สาย”

คำยกย่องชมเชยจากบรรดาอุละมาอ์

บ่าวที่มีความศรัทธาและมีความสุขในการอิบาดะฮฺนั้น ผลบุญของเขาจะถูกเร่งรัดให้มาถึงก่อนด้วยการได้รับคำยกย่องชมเชยจากบรรดาคนดี ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺก็เช่นนั้นแหล่ะ ด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีที่ท่านมี คำยกย่องชมเชยจากบรรดาอุละมาอ์ได้ไหลรินมายังท่านอย่างไม่ขาดสาย

อิบนุ เชาซับ กล่าวว่า “ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ไม่ได้มีอิบาดะฮฺอะไรที่โด่นเด่นไปกว่าคนอื่นๆหรอก แต่เมื่อถูกถามว่า ‘ชาวบัศเราะฮฺคนใดที่ดีเลิศที่สุด?’ คำตอบก็คือ ‘ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ’”

มูซา บินฮารูน อธิบายว่า “ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ คือนักอิบาดะฮฺ ชอบทำอะมั้ล มีความสำรวมตน(วะเราะอฺ) และมีสถานะที่สูงส่ง มีเกียรติ น่าเชื่อถือ(ษิเกาะฮฺ) มีความรู้ และความดีงามทั้งหลายนั้นมีอยู่ที่ตัวท่าน”

อิบนุหิบบาน เล่าวว่า “ท่าน(มุหัมมัด บินวาสิอฺ)ถือเป็นนักอิบาดะฮฺที่ประณีต เป็นคนที่สมถะที่ชอบประกอบอะมั้ล ท่านเคยร่วมทำญิฮาดที่คุรอซาน คุณธรรมและความดีงามที่ท่านมีนั้นมากมายนัก”

มาลิก บินดีนาร กล่าวว่า “ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ คือนักอ่านอัลกุรอานของพระผู้ทรงเมตตา คุณธรรมความดีงามของท่านมากมายเหลือเกิน”

ทัศนคติของท่านต่อดุนยา 

บรรดาอุละมาอ์นั้นมีทัศนคติที่แตกต่างจากคนทั่วไปในการประเมินค่าดุนยา ดุนยาไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง แต่คือสถานที่ตระเตรียมเสบียงเพื่อการเดินไปทางไปสู่อมตะสถาน และดุนยานั้นเป็นเพียงจุดแวะพักเพียงชั่วครู่หนึ่งเท่านั้น

หัมมาด บินซัยดฺ กล่าวว่า “มีผู้ถามท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ว่า ‘โปรดสั่งเสียแก่ฉันด้วย’ ท่านตอบว่า ‘ฉันขอสั่งเสียว่า ท่านจงเป็นราชาบนดุนยาและอาคิเราะฮฺ’ ชายคนนั้นถามว่า ‘ทำได้อย่างไรหรือครับ?’ ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ตอบว่า ‘จงสมถะ(ซุฮดฺ)ต่อดุนยา’”

ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ เคยกล่าวไว้ว่า “แท้จริงฉันอิจฉาผู้ที่มีศาสนาเข้มแข็ง และพอใจกับดุนยาเพียงเล็กน้อยที่มีอยู่ที่ตัวเขา”

ในสงครามญุรญาน ยะซีด บินอัลมุหัลลับ ได้ทรัพย์เชลยสงครามเป็นมงกุฎที่ประดับด้วยเพชร ยะซีดถามทหารของเขาว่า “พวกเจ้าเชื่อไหมว่า ยังคงมีคนที่ไม่ต้องการสิ่งนี้?” พวกเขาตอบว่า “ไม่เชื่อ” ยะซีดจึงเรียกท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ อัลอัซดีย์ และบอกว่า “จงรับนี่ไป” ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ กล่าวว่า “ฉันไม่มีความจำเป็นต้องใช้มัน” ยะซีดพูดบังคับว่า “ฉันยืนยันว่าท่านต้องรับมันไป”

ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺจึงรับมงกุฎนั้นไป แล้วยะซีดก็สั่งให้ทหารคนหนึ่งสะกดรอยตามว่ามุหัมมัด บินวาสิอฺจะทำอะไรต่อไป ปรากฏว่าระหว่างทาง ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺได้เจอกับขอทานคนหนึ่ง ท่านจึงยื่นมงกุฎนั้นแก่เขา ทหารนายนั้นจึงรีบพาขอทานไปพบยะซีดและเล่าเหตุการณ์ดังกล่าว ยะซีดจึงเอามงกุฏนั้นคืนและมอบเงินจำนวนมากแก่ขอทานคนนั้นแทน.

สุบหานัลลอฮ! คนแบบนี้ยังมีอยู่จริงๆด้วย คนที่ไม่อยากได้และไม่อยากสะสมทรัพย์สิน คนที่รับเอาส่วนของดุนยาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ขออัลลอฮทรงเมตตาท่าน โอ้ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ท่านได้ทิ้งไว้ซึ่งสิ่งที่ยากลำบากมากสำหรับพวกเรา

ทัศนคติของท่านต่ออาคิเราะฮฺ

ฮัซมฺ อัลก็อฏอีย์ กล่าวว่า “ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ได้กล่าวไว้ก่อนตายไว้ว่า ‘โอ้พี่น้องทั้งหลาย พวกท่านรู้ไหมว่าฉันจะไปที่ไหน? ขอสาบานต่ออัลลอฮ ฉันกำลังจะไปนรก เว้นเสียแต่ว่าอัลลอฮทรงอภัยโทษให้กับฉัน’”

สุลัยมาน อัตตัยมีย์ กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นใครที่มีใจจดจ่อต่ออาคิเราะฮฺมากกว่าท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ”

สถานะของท่านในเรื่องดุอาอ์

ในสงคราม ชาวมุสลิมต้องการบรรดาผู้ที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮุ ตะอาลา เพราะการที่พวกเขาอยู่ในกองทัพนั้น ทำให้การช่วยเหลือของอัลลอฮอยู่ใกล้มากขึ้น อีมานและดุอาอ์ของพวกเขามีความสำคัญมาก เช่นเดียวกับท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ

อัลอัศมะอีย์ กล่าวว่า “ครั้นที่กุตัยบะฮฺ บินมุสลิม ประจัญบานกับกองทัพตุรกีและเริ่มรู้สึกว่ากำลังจะพ้ายแพ่ ท่านก็ถึงท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ มีนายหทารบางคนตอบว่า ‘เขาอยู่ที่ปีกขวาของกองทัพ โดยถือคันธนูพร้อมกับขอดุอาอ์ชี้นิ้วมือของเขาไปยังท้องฟ้า’ กุตัยบะฮฺกล่าวว่า ‘นิ้วมือเหล่านั้นเป็นที่รักใคร่สำหรับฉันมากกว่าดาบที่แหลมคมหนึ่งแสนเล่มที่ถือโดยเยาวชนที่แข็งแรงกล้าหาญ’”

คำตักเตือนของท่าน

ต่อไปคือคำตักเตือนของท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ที่มีให้กับพวเรา เป็นคำตักเตือนที่มีคุณค่ายิ่ง

ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ กล่าวว่า “เมื่อบ่าวได้หันหัวใจของเขาไปยังอัลลอฮอย่างจริงจัง อัลลอฮก็จะทรงหันหัวใจของปวงบ่าวทั้งหายไปยังเขา”

เมื่อท่านถูกถามว่า “ท่านมีข่าวอะไรในเช้าวันนี้บ้าง?” ท่านตอบว่า “อายุขัยของฉันใกล้หมดลงแล้ว แต่ความหวังล้มๆแล้งๆของฉันกลับยังยาวไกล ในขณะการงานของฉันนั้นไม่ดีเลย”

ผู้ให้คำตักเตือนคนหนึ่งเข้าใกล้ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ และถามว่า “ทำไมฉันจึงพบว่าผู้คนมีหัวใจที่ไม่หวาดกลัว ดวงตาไม่ที่หลั่งน้ำตา และผิวหนังที่ไม่สั่นไหว?” ท่านมุหัมมัดตอบว่า “โอ้ท่านครับ ฉันไม่เห็นว่าความผิดนี้มาจากพวกเขา แต่มันมาจากตัวท่านเอง เพราะหากคำตักเตือนนั้นมาจากหัวใจ มันก็ย่อมเข้าสู่หัวใจ”

มีชายคนหนึ่งสังเกตเห็นรอยแผลบนมือของท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ เขาจึงรู้สึกสงสาร ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ กล่าวว่า “ท่านรู้ไหม ความโปรดปรานใดที่ฉันรู้สึกได้จากบาดแผลนี้บนมือของฉัน? (โปรดปรานนั้น)คือเพราะว่ามันไม่ได้อยู่บนดวงตาของฉัน หรือที่ปลายลิ้นของฉัน หรือที่อวัยวะเพศของฉัน”

อิบนุอุยัยนะฮฺ กล่าวว่า ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ เคยกล่าวว่า “หากบาปทั้งหลายที่กระทำไปนั้นมีกลิ่นแล้วไซร้ จะไม่มีใครแม้เพียงคนเดียวที่อยากนั่งอยู่กับฉัน”

อิบาดะฮฺและคำสอนเรื่องความอิคลาศ

มูซา บินยะสาร กล่าวว่า “ฉันเคยร่วมเดินทางไปยังเมืองมักกะฮฺกับท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ท่านละหมาดบนยานพาหนะตลอดทั้งคืนในท่านั่งพร้อมทำสัญญาณ”

ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ กล่าวว่า “แท้จริงมีชายคนหนึ่งที่ร้องไห้เป็นเวลานาน 20 ปีโดยที่ภรรยาที่อยู่ใกล้ชิดเขานั้นไม่รู้”

ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ กล่าวว่า “ฉันได้พบกับหลายๆคน พวกเขาบางคนนั้นศรีษะของเขาวางลงข้างศรีษะของภรรยาบนหมอนใบเดียวกัน น้ำตาของเขาเปียกนองหมอนส่วนที่อยู่ใต้แก้มของเขา แต่ภรรยาของเขาไม่เคยรู้เลย และฉันก็ได้พบกับบางคนในหมู่พวกเขาที่ยืนขึ้นในแถวการละหมาด น้ำตาของเขาไหลอาบแก้ม แต่ไม่มีใครรู้เรื่องเลย”

ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ถือศีลอดเสมอ แต่ไม่มีใครรู้

ไม่ต้องการตำแหน่ง

ผู้มีตำแหน่งฐานะคนหนึ่งชื่อว่า มาลิก บินอัลมุนซิร เคยเสนอแก่ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ ว่า “จงรับตำแหน่งผู้พิพากษา(กอฎีย์)” แต่ท่านปฏิเสธ มาลิกก็ยังคงเชิญชวนท่านและพูดว่า “ท่านจะต้องรับตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา หากไม่แล้วฉันจะโบยท่าน 300 ครั้ง” ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ กล่าวว่า “หากท่านทำ ท่านก็เป็นพวกเผด็จการ แท้จริงความต้อยต่ำในดุนยานั้นดีกว่าความตกต่ำในอาคิเราะฮฺ”

ท่านมุหัมมัด บินวาสิอฺ เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺที่ 123 ขออัลลอฮทรงเมตตาท่านด้วย

(อ่านเพิ่มเติมได้จาก เฏาะบะก็อต หะนาบิลียะฮฺ 215 , ตารีค บุคอรีย์ 1/255 , หิลยะตุล เอาลิยาอ์ 2/345-357 , ตารีค เฏาะบะรีย์ 4/53 , สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ 6/119 และตะฮฺซีบ อัตตะหฺซีบ 9/499-500)

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , ,

ชีวประวัติท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ (ตอนที่ 5-ตอนจบ)

الحسن البصري4
ชีวประวัติท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ
(ตอนที่ 5-ตอนจบ : ถ้อยคำล้ำค่าและการเสียชีวิต)
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur


ถ้อยคำล้ำค่าของท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์
 

จากอิมรอน บินคอลิด กล่าวว่า อัลหะสันกล่าวว่า “ผู้ศรัทธานั้นเศร้าเสียใจ และเขาก็ถูกเรียกว่าเป็นคนที่เศร้าเสียใจ เขาไม่สามารถเป็นอื่นได้ เนื่องจากเขาอยู่ระหว่างความกลัว 2 อย่าง คือระหว่างความผิดที่ผ่านพ้นมา(ซึ่งเขาไม่รู้ว่าอัลลอฮจะทรงทำอย่างไรกับมัน)กับอายุขัยที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งเขาไม่รู้ ความเสียหายวอดวายใดบ้างที่จะประสบกับเขา”[1]

จากอิมรอน อัลกอศิร กล่าวว่า ฉันถามท่านอัลหะสันเกี่ยวกับเรื่องหนึ่ง แล้วฉันก็พูดว่า “บรรดาฟุเกาะฮฺกล่าวเช่นนั้นและเช่นนี้” ท่านถามกลับมาว่า “ท่านเห็นฟากีฮฺ(ผู้มีความเข้าใจในศาสนาอย่างลึกซึ้ง)ด้วยตาของท่านเองไหม? แท้จริงฟะกีฮฺนั้นคือคนที่สมถะต่อดุนยา รู้ศาสนา และอิบาดะฮฺต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาอยู่เสมอ”[2]

จากฏ็อลหะฮฺ บินศอบิหฺ จากท่านอัลหะสัน กล่าวว่า “ผู้ศรัทธา(มุอ์มิน)คือคนที่รู้ว่า สิ่งที่อัลลอฮทรงกล่าวนั้นคือเช่นที่พระองค์ทรงกล่าว ผู้ศรัทธานั้นคือคนที่มีการงานที่ดีที่สุด และเป็นผู้ที่มีความรู้สึกกลัวที่สุด(ต่ออัลลอฮ) หากเขาได้บริจาคทรัพย์สินมากเท่าภูเขา เขาก็ยังไม่รู้สึกปลอดภัยจนกว่าเขาจะเห็นด้วยตาตัวเอง(ว่าอัลลอฮทรงรับทรัพย์บริจาคของเขา) ความดีของเขา ความกตัญญูของเขา และอิบาดะฮฺของเขาจะไม่เพิ่มพูนขึ้น นอกจากกว่าความรู้สึกกลัวต่ออัลลอฮของเขาจะเพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย พร้อมกันนั้นเขาจะพูดว่า ‘ฉันยังไม่ปลอดภัย’ ส่วนพวกกลับกลอก(มุนาฟิก)จะพูดว่า ‘ผู้คนมีมากมาย ฉันจะได้รับการอภัยโทษ และไม่มีสิ่ง(อันตราย)ใดๆบนตัวฉัน’ เขาลืมประกอบการงาน แต่คาดหวังมากมายต่ออัลลอฮ”[3]

จากฮิชาม บินหัสสาน กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอัลหะสันสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮว่า “ไม่มีใครที่เชิดชูดิรฮัม(เงินตรา) นอกจากว่าอัลลอฮจะทรงให้เขาตกต่ำ”[4]

จากหัซมฺ บินอบูหัซมฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอัลหะสันกล่าวว่า “สหาย 2 คนที่ชั่วช้าเลวร้ายที่สุดนั่นคือ ดีนารและดิรฮัม ทั้งสองไม่มีประโยชน์ใดๆสำหรับท่านจนกระทั่งทั้งสองแยกไปจากท่าน”[5]

จากอบูอุบาดะฮฺ อันนาญีย์ จากท่านอัลหะสัน กล่าวว่า “โอ้ลูกหลานอาดัม การละทิ้งความผิดนั้นง่ายดายสำหรับท่านมากกว่าการเตาบะฮฺ อะไรกันที่ทำให้ท่านรู้สึกปลอดภัยเมื่อท่านกระทำบาปใหญ่ แล้วประตูแห่งการเตาบะฮฺก็ปิดลง ในขณะที่ท่านอยู่ข้างนอกสถานที่ประกอบการงาน?”[6]

จากซุร็อยกฺ บินอบีซุร็อยกฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอัลหะสันกล่าวว่า “แท้จริงฟิตนะฮฺนั้นเมื่อมาถึงแล้ว มันจะเป็นที่รับรู้กันสำหรับบรรดาผู้รู้ และเมื่อมันไปแล้ว มันก็จะเป็นที่รับรู้กันสำหรับคนเขลาทั้งหลาย”[7]

จากอุมาเราะฮฺ กล่าวว่า “ฉันอยู่ข้างท่านอัลหะสัน แล้วฟัรก็อดก็เข้ามาหาเรา ขณะนั้นท่านอัลหะสันกำลังทานขนมปัง แล้วท่านอัลหะสันก็กล่าวว่า ‘มาสิและทานสิ’ เขา(ฟัรก็อด)พูดว่า ‘ฉันกลัวหากไม่สามารถแสดงความรู้สึกขอบคุณได้’ ท่านอัลหะสันตอบว่า ‘แต่ท่านสามารถแสดงความรู้สึกขอบคุณ(เพราะ)การดื่มน้ำเย็นได้?’”[8]

ท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เสียชีวิต 

จากอับดุลหะมีด บินมัยมูน อดีตทาสของท่านอุรวะฮฺ บินอัซซุบัยรฺ กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งพูดกับท่านอิบนุสิรีนว่า ‘ฉันเห็นนกตัวหนึ่งเอาก้อนกรวดของท่านอัลหะสันที่มัสญิด’ ท่านอิบนุสิรีนกล่าวว่า ‘หากฝันของท่านเป็นจริง หมายความว่า ท่านอัลหะสันจะเสียชีวิต’ และไม่นานจากนั้นท่านอัลหะสันก็เสียชีวิต”[9]

จากยูนุส กล่าวว่า “ขณะที่ท่านอัลหะสันใกล้จะเสียชีวิต ท่านกล่าวอินนาลิลลาฮิ วะอินนาอิลัยฮิ รอญิอูน ลูกของท่านอัลหะสันขยับตัวเข้าใกล้ท่านพร้อมกล่าวว่า ‘พ่อครับ ท่านทำให้ฉันเศร้า ท่านเห็นสิ่งใดหรือ?’ ท่านอัลหะสันตอบว่า ‘มันคือชีวิตที่ฉันไม่พบเคยว่ามีสิ่งใดเหมือน’”

ฮิชาม บินหัสสาน กล่าวว่า “เราอยู่ข้างๆท่านมุหัมมัด(บินสิรีน)ในช่วงเย็นของวันพฤหัสบดี แล้วชายคนหนึ่งก็เข้ามาหาท่านหลังเวลาอัศรฺ พร้อมกับกล่าวว่า ‘ท่านอัลหะสันได้เสียชีวิตแล้ว’ เมื่อได้ยินดังนั้น ท่านมุหัมมัดได้ขอดุอาอ์ให้ท่านอัลหะสันได้รับความเมตตา แล้วสีหน้าของท่านก็เปลี่ยนไป และท่านก็ไม่พูดอะไร ท่านไม่พูดอะไรเลยจนกระทั่งตะวันลับฟ้าไป และผู้คนก็ไม่กล้าเข้าไปพูดคุยกับท่านด้วย เนื่องจากพวกเขาเห็นความเศร้าโศกใจที่กำลังปกคลุมตัวท่าน”

อัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า “ท่านมุหัมมัด บินสิรีน มีชีวิตหลังจากการตายของท่านอัลหะสันเพียง 100 วันเท่านั้น”

อับดุลลอฮ บินอัลหะสัน กล่าวว่า พ่อของฉันมีชีวิตประมาณ 88 ปี

อัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า “ท่านอัลหะสันเสียชีวิตในเดือนเราะญับ คือในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 110 มีผู้คนมากมายมาร่วมเป็นพยานดูญะนาซะฮฺของท่าน และละหมาดญะนาซะฮฺแก่ท่านหลังจากละหมาดญุมอะฮฺ ที่เมืองบัศเราะฮฺ ผู้คนมากมายมาเยี่ยมญะนาซะฮฺของท่าน และพวกเขาต่างยื้อแย้งกันจะเข้าไปมองใบหน้าของท่าน จนกระทั่งละหมาดอัศรฺไม่สามารถกระทำได้ที่มัสญิด”

มีรายงานว่า ท่านอัลหะสันเป็นลม หลังจากนั้นท่านก็ยิ้มครู่หนึ่ง และพูดว่า “แท้จริงพวกท่านได้ปลุกฉันขึ้นมาจากเรือกสวนและน้ำพุทั้งหลาย และสถานที่อันทรงเกียรติ”

ขออัลลอฮทรงเมตตาท่านด้วยความเมตตาที่มากมาย และทรงให้เราได้อยู่ร่วมกับท่านในสวนสวรรค์ชั้นสูงสุด ชั้นที่เราจะหยิบเอาพืชผลต่างๆได้อย่างง่ายดาย

___________________________

[1] หิลยะฮฺ อัลเอาลิยาอ์ วะเฏาะบะก็อต อัลอัศฟิยาอ์ , อบูนุอัยมฺ , 2/132

[2] หิลยะฮฺ อัลเอาลิยาอ์ วะเฏาะบะก็อต อัลอัศฟิยาอ์ , อบูนุอัยมฺ , 2/139

[3] หิลยะฮฺ อัลเอาลิยาอ์ วะเฏาะบะก็อต อัลอัศฟิยาอ์ , อบูนุอัยมฺ , 2/153

[4] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/576

[5] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/576

[6] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/578

[7] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 7/166

[8] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 7/176

[9] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 7/174

<photo id=”1″ />

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , ,

ชีวประวัติท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ (ตอนที่ 4)

الحسن البصري3
ชีวประวัติท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ
(ตอนที่ 4 : ฟิตนะฮฺอิบนุอัลอัชอัษ , ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์)
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur


ท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ และฟิตนะฮฺอิบนุอัลอัชอัษฺ
 

ดูเหมือนว่าท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ จะคัดค้านการก่อกบฏของอิบนุอัลอัชอัษต่ออัลหัจญาจญ์ แต่พวกเขา(ฝ่ายของอิบนุอัลอัชอัษ)ก็พยายามบีบคั้นให้ท่านทำการกบฏร่วมกับพวกเขา แต่อัลลอฮด้วยความโปรดปรานและความเมตตาของอัลลอฮ พระองค์ทรงคุ้มครองท่านจากฟิตนะฮฺ แม้ท่านจะเกือบเสียชีวิตก็ตาม ต่อไปนี้คือบางรายงานที่เล่าถึงเหตุการณ์

จากสุลัยมาน บินอลี อัรร็อบอีย์ กล่าวว่า “เมื่อเกิดฟิตนะฮฺการกบฏของอิบนุอัลอัชอัษต่ออัลหัจญาจญ์ อุกบะฮฺ บิน อับดุลฆอฟิร , อบูอัลเญาซาอ์ และอับดุลลอฮ บินฆอลิบ และพวกพ้องของพวกเขาก็เดินทางมาพบกับท่านอัลหะสัน เมื่อเจอกันแล้วพวกเขาก็พูดว่า ‘โอ้อบูสะอีด ท่านคิดเห็นอย่างไรกับการโจมตีจอมเผด็จการคนนี้ที่ได้หลั่งเลือดที่ต้องห้ามในการหลั่งเลือด , ยึดทรัพย์สินที่ต้องห้ามในการยึด , ละทิ้งการละหมาด และทำเช่นนั้นและเช่นนี้?’ และพวกเขาก็พูดถึงการกระทำอื่นของอัลหัจญาจญ์ด้วย ท่านอัลหะสันกล่าวว่า ‘ฉันเห็นว่าพวกท่านไม่ควรโจมตีเขา เพราะหากนี่คือการลงโทษจากอัลลอฮ พวกท่านจะไม่สามารถผลักดันการลงโทษของพระองค์ได้ด้วยกับดาบของพวกท่าน และหากนี่คือการทดสอบ ก็จงอดทนเถิด จนกว่าอัลลอฮจะทรงตัดสิน และพระองค์คือผู้ทรงตัดสินที่ดีที่สุด’ แล้วพวกเขาก็ออกไปจากที่นั่นพร้อมกับพูดว่า ‘เราจะเชื่อฟังผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ไม่ใช่อาหรับคนนี้หรือ?’ ในขณะที่พวกเขาคือชาวอาหรับ แล้วพวกเขาก็ไปพร้อมกับอิบนุอัลอัชอัษ และสุดท้ายพวกเขาก็ถูกฆ่าตายทั้งหมด”[1]

จากอัลหะสัน กล่าวว่า “หากมนุษย์อดทนต่อบททดสอบที่มาจากฝ่ายผู้ปกครองของพวกเขา พวกเขาก็จะได้รับการปลดปล่อยจากความคับแคบ แต่พวกเขารีบร้อนหยิบดาบ แล้วพวกเขาก็ปล่อยให้ยึดติดอยู่กับมัน ขอสาบานต่ออัลลอฮ พวกเขาไม่ได้นำมาซึ่งความดีงามใดๆเลย”[2]

จากอัยยูบ กล่าวว่า มีผู้กล่าวกับอิบนุอัลอัชอัษว่า “หากท่านพอใจที่จะให้พวกเขาถูกฆ่าที่รอบๆตัวท่าน เฉกเช่นที่พวกเขาถูกฆ่าที่รอบอูฐของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ก็จงปล่อยท่านอัลหะสันออกมา” อิบนุอัลอัชอัษก็ส่งตัวแทนไปยังท่านอัลหะสัน และบังคับให้ท่านออกไป[3]

จากอิบนุเอานฺ กล่าวว่า “ผู้คนคิดว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับอิบนุอัลอัชอัษคงยืดเยื้อต่อไป พวกเขาจึงถามว่า ‘ชัยคฺคนนี้(หมายถึงท่านอัลหะสัน)ได้ออกไปหรือยัง?’ อิบนุเอานฺตอบว่า ‘ฉันเห็นท่านอยู่ระหว่าง 2 สะพานโดยสวมใส่สะระบั่นสีดำ เมื่อพวกเขาคลาดสายตาไปจากท่าน ท่านก็กระโดดตกลงไปในแม่น้ำด้านหนึ่งจนกระทั่งท่านรอดปลอดภัยจากพวกเขา และท่านเกือบจะสิ้นชีวิตในวันนี้’”[4]

จากสัลมฺ บิน อบูอัซซัยยาล กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งถามท่านอัลหะสัน ขณะที่ตัวเขานั้นอยู่กับชาวเมืองชามที่กำลังฟังด้วยว่า ‘โอ้อบูสะอีด ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับฟิตนะฮฺต่างๆ เช่น ฟิตนะฮฺยะซีด บิน อัลมุหัลลับ และอิบนุอัลอัชอัษ?’ ท่านอัลหะสันตอบว่า ‘พวกท่านอย่าได้เข้าร่วมกับพวกนั้นหรือพวกนี้’ ชาวเมืองชามคนหนึ่งพูดว่า ‘และไม่เข้าร่วมกับอมีรุลมุอ์มินีนด้วยไหมครับ? ท่านอบูสะอีด’ ท่านอัลหะสันโกรธ แล้วทำสัญญาณมือเพื่อเป็นการเตือน แล้วท่านก็กล่าวว่า ‘ใช่ ไม่เข้าร่วมกับอมีรุลมุอ์มินีนด้วย’”[5]

จากอิบนุเอานฺ กล่าวว่า “มุสลิม บินยะสาร มีสถานะที่สูงกว่าท่านอัลหะสันสำหรับชาวเมืองบัศเราะฮฺ จนกระทั่งเมื่อเขา(มุสลิม)ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับอิบนุอัลอัชอัษ จากนั้นมาท่านอัลหะสันจึงมีสถานะที่สูงกว่า ณ ที่นั่น ส่วนคนอื่นนั้นมีสถานะที่ลดต่ำลงมา”

ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์ของท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ 

ครูบาอาจารย์ของท่าน :

อัลหาฟิซ กล่าวว่า “ท่าน(อัลหะสัน)ได้เห็น(พบเจอ)กับท่านอลี , ฏ็อลหะฮฺ , ท่านหญิงอาอิชะฮฺ และท่านเป็นเลขาฯของอัรรอบิอฺ บินซิยาด ผู้ว่าการแคว้นคุรอซานในสมัยการปกครองของมุอาวิยะฮฺ ท่านรายงานจากอุบัย บินกะอบฺ , สะอดฺ บินอุบาดะฮฺ , อุมัร บิน อัลค็อฏฏ็อบ แต่ไม่เคยพบเจอกับพวกเขา และยังรายงานจากเษาบาน , อัมมาร บินยาสิร , อบูฮุร็อยเราะฮฺ , อุษมาน บิน อบูอัลอาศ และมะอฺกิล บินสินาน แต่ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากพวกเขา”[6]

อัซซะฮะบีย์กล่าวว่า “ท่าน(อัลหะสัน)รายงานจากอิมรอน บินหุศ็อยนฺ , อัลมุฆีเราะฮฺ บินชุอฺบะฮฺ , อับดุรเราะหฺมาน บินสะมุเราะฮฺ , อบูบักเราะฮฺ , อันนุอฺมาน บินบะชีร , ญุนดับ บินอับดิลลาฮ , สะมุเราะฮฺ บินญุนดับ , อิบนุอับบาส , อิบนุอุมัร , ญาบิร , อัมรฺ บินษะอฺลับ , อับดุลลอฮ บินอัมรฺ , มะอฺกิล บินยะสาร , อบูฮุร็อยเราะฮฺ ,อัลอัสวัด บินสาริอฺ , อนัส บินมาลิก และคนอื่นๆอีกมากมายในหม฿เศาะหาบะฮฺและตาบิอีน เช่น อัลอะหฺนัฟ บินก็อยสฺ และหิฏฏ็อน อัรเราะกอชีย์”[7]

ลูกศิษย์ของท่าน :

อัลหาฟิซกล่าวว่า “ส่วนคนที่รายงานจากท่านนั้นได้แก่ หุมัยดฺ อัฏฏอวิล , ยะซีด บินอบูมัรยัม , อัยยูบ , เกาะตาดะอฺ , เอาฟฺ อัลอะอฺรอบีย์ , บะกัร บินอับดิลลาฮ อัลมุซะนีย์ , ญะรีร บินหาซิม , อบูอัลอัชฮับ , อัรรอบิอฺ บินศอบิหฺ , สะอีด อัลญะรีรีย์ , สะอดฺ บินอิบรอฮีม บินอับดุรเราะหฺมาน บินเอาฟฺ , สิมาก บินหัรบฺ , ชัยบาน อันนะหฺวีย์ , อิบนุเอานฺ , คอลิด อัลหัซซาอ์ , อะฏออ์ บินอัสสาอิบ , อุษมาน อัลบัตตีย์ , กุรเราะฮฺ บินคอลิด , มุบาร็อก บินฟุฎอละฮฺ , มะอฺบัด บินฮาล และคนอื่นๆ ส่วนคนท้ายๆในหมู่พวกเขานั้นได้แก่ ยะซีด บินอิบรอฮีม อัตตุสตะรีย์ , มุอาวิยะฮฺ บินอับดุลกะรีม อัษษะกอฟีย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่า อัฎเฎาะอัล”[8]

____________________________

[1] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บิน สะอดฺ , 7/163-164

[2] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บิน สะอดฺ , 7/163-164

[3] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บิน สะอดฺ , 7/163

[4] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บิน สะอดฺ , 7/163

[5] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บิน สะอดฺ , 7/164

[6] ตะฮฺซีบ อัตตะฮฺซีบ , อิบนุ หะญัร อัลอัษเกาะลานียื , 2/231

[7] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/565

[8] ตะฮฺซีบ อัตตะฮฺซีบ , อิบนุ หะญัร อัลอัษเกาะลานียื , 2/231

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ชีวประวัติท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ (ตอนที่ 3)

الحسن البصري2
ชีวประวัติท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ
(ตอนที่ 3 : การอิบาดะฮฺ ความรู้สึกกลัว ความโศกเศร้า และความรู้)
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

การอิบาดะฮฺ ความรู้สึกกลัว และความโศกเศร้าของท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ 

อิบรอฮีม บินอีซา อัลยัชกูรีย์ กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นใครที่โศกเศร้าของเขายาวนานมากไปกว่าท่านอัลหะสัน ฉันไม่เคยพบเห็นเขานอกจากฉันจะคิดว่าเขาเพิ่งประสบเคราะห์กรรม(มุศีบะฮฺ)มา”[1]

อัสสารีย์ บินยะหฺยา กล่าวว่า “ท่านอัลหะสันมักจะถือศีลอดในวันสีขาว(วันที่ 13-15 ของแต่ละเดือน) , ในเดือนต่างๆที่สะอาด(อัชฮุร อัลหุรุม) และในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี”[2]

จากชุอัยบฺ ศอหิบ อัฏเฏาะยาลิยะฮฺ กล่าวว่า “ฉันเห็นท่านอัลหะสันอ่านอัลกุรอานพร้อมกับร้องไห้ จนกระทั่งน้ำตาของท่านเปียกชุ่มเคราของท่าน”[3]

จากยูนุส กล่าวว่า “ท่านอัลหะสันคือคนที่โศกเศร้าอย่างมาก ส่วนอิบนุสีรีนนั้นคือคนที่ชอบหัวเราะและตลกขบขัน”[4]

จากมะฏ็อร อัลวัรร็อก กล่าวว่า “ญาบิร บินซัยดฺ คือคนจากชาวเมืองบัศเราะฮฺ เมื่อท่านอัลหะสันปรากฏตัวขึ้น เสมือนมีชายคนหนึ่งที่เคยอยู่ในโลกอาคิเราะฮฺมาหา แล้วเขาก็บอกเล่าสิ่งที่เขาได้เห็นมาโดยตรง”[5]

จากฮิชาม จากท่านอัลหะสัน กล่าวว่า “ผู้ศรัทธานั้นโศกเศร้า และเขาได้ชื่อว่าเป็นคนที่โศกเศร้า พร้อมกับกลับไปยังความโศกเศร้า เพียงพอแล้วสำหรับเขาซึ่งสิ่งที่พอเพียงสำหรับแพะตัวเล็ก”[6]

จากมุหัมมัด บิน หะญะดะฮฺ จากท่านอัลหะสัน กล่าวว่า “ผู้ที่รู้จักได้ล่วงลับไป และผู้ที่ถูกทิ้งไว้ยังคงอยู่ ผู้ใดที่ยังลงเหลืออยู่จากหมู่ชาวมุสลิม เขาก็ถูกทำให้โศกเศร้าทุกข์ใจ”[7]

ความรู้ของท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์

เกาะตาดะฮฺ กล่าวว่า “ท่านอัลหะสันคือผู้ที่มีความรู้มากที่สุดในเรื่องหะลาลและหะรอม”[8]

จากบักรฺ บินอับดิลลาฮ อัลมุซะนีย์ กล่าวว่า “ใครก็ตามที่ต้องการมองดูคนที่มีความเข้าใจในศาสนาลึกซึ้ง(ฟะกีฮฺ)มากที่สุดเท่าที่เราเคยเห็นมา เขาก็จงดูท่านอัลหะสันเถิด”[9]

จากอบูหิลาล กล่าวว่า ฉันอยู่ข้างเกาะตาดะฮฺ แล้วข่าวคราวการเสียชีวิตของท่านอัลหะสันก็มาถึง ฉันพูดว่า “แท้จริงเขาได้ดำดิ่งลงไปในความรู้” เกาะตาดะฮฺกล่าวว่า “เปล่าเลย ความรู้ต่างหากที่ผุดขึ้นมาภายในตัวเขา ปกคลุม และดูดซึมเขา ขอสาบานต่ออัลลอฮ ไม่ใครที่เกลียดชังเขานอกจากพวกฮะรูรีย์(เคาะวาริจญ์)”[10]

จากอบูสะอีด อิบนุ อัลอะเราะบีย์ กล่าวว่า “คนส่วนใหญ่ที่เรากล่าวถึง จากบรรดานักอิบาดะฮฺที่มาหาท่านอัลหะสัน และรับฟังคำพูดต่างๆของท่าน และฟังความเข้าใจจากท่านเกี่ยวกับความหมายต่างๆโดยเฉพาะ อัมรฺ บิน อุบัยดฺ และอับดุลวะฮีด บิน ซัยดฺ ถือเป็นคนที่อยู่ร่วมกับท่าน(อัลหะสัน)เสมอ ท่านอัลหะสันมีมัจญ์ลิสเฉพาะที่บ้านของท่าน ซึ่งแทบจะไม่มีการพูดคุยกันเรื่องอื่นเลยนอกจากเรื่องที่เกี่ยวกับความหมายของความสมถะ(ซุฮดฺ)และอิบาดะฮฺ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับบาฏิน(จิตใจ) หากมีใครคนหนึ่งถามเกี่ยวกับเรื่องอื่นจากนั้น ท่านจะตำหนิเขาคนนั้นพร้อมกับกล่าวว่า ‘เราปลีกตัวอยู่กับพี่น้องเราเพื่อทำการขัดเกลากันและกันเท่านั้น ส่วนหะละเกาะฮฺ(ความรู้)นั้นมีอยู่ที่มัสญิด แล้วความรู้หะดีษ ฟิกฮฺ ความรู้อัลกุรอาน ภาษา และความรู้อื่นๆก็ถูกดำเนินต่อไป บางครั้งท่าน(อัลหะสัน)ก็ถูกถามเกี่ยวกับตะเศาวุฟ แล้วท่านก็ตอบคำถาม ในหมู่พวกเขามีผู้ที่อยู่กับท่านอัลหะสันเพื่อศึกษาหะดีษ และมีคนที่อยู่กับท่านเพื่อศึกษาอัลกุรบานและบะยาน(คำอธิบาย) มีคนที่อยู่กับท่านเพื่อศึกษาบะละเฆาะ และมีที่อยู่กับท่านเพื่อศึกษาความอิคลาศและความรู้เฉพาะ เช่น อัมรฺ บิน อุบัยดฺ , อบูญุฮัยมฺ , อับดุลวะฮีด บิน ซัยดฺ , ศอลิหฺ อัลมุรรีย์ และชุมัยฏฺ รวมถึงอบูอุบัยดะฮฺ อันนาญีย์ แต่ละคนในหมู่พวกเขานั้นมีชื่อเสียงในเรื่องๆหนึ่ง นั่นคือในเรื่องอิบาดะฮฺ’”[11]

จากคอลิด บิน เราะบาฮฺ เล่าว่า ท่านอนัส บิน มาลิก ถูกถามเกี่ยวกับปัญหาหนึ่ง และท่านก็กล่าวว่า “จงถามอดีตทาสของเรา คืออัลหะสัน” ท่านอนัสกล่าวต่อไปว่า “เราฟังและเขาก็ฟังเช่นกัน แต่เขาจดจำ ส่วนเรานั้นหลงลืม”[12]

จากเกาะตาดะฮฺ กล่าวว่า “เราพบท่านอัลหะสันขณะกำลังนอนหลับ ในข้างศรีษะของท่านนั้นมีตะกร้าอยู่ เราจึงดึงมันมา ปรากฏว่ามีขนมปังและผลไม้ แล้วเราก็กินมัน เมื่อท่านตื่นขึ้นมาและเห็นเรา ท่านก็ดีใจและยิ้มให้พร้อมอ่าน

أَوْ صَدِيقِكُمْ

หรือเพื่อนๆของพวกเจ้า(อันนูร 24 : 61)”

แล้วท่านก็พูดว่า “ไม่มีบาปใดๆสำหรับพวกท่าน”[13]

___________________________

[1] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/575

[2] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/578

[3] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บิน สะอดฺ , 6/175

[4] เฏาะบะก็อต อิบนุ สะอดฺ , มุหัมมัด บิน สะอดฺ , 6/162

[5] ตะฮฺซีบ อัลกะมาล , ญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ , 2/231

[6] หิลยะฮฺ อัลเอาลิยาอ์ วะเฏาะบะก็อต อัลอัศฟิยาอ์ , อบูนุอัยมฺ , 2/133

[7] หิลยะฮฺ อัลเอาลิยาอ์ วะเฏาะบะก็อต อัลอัศฟิยาอ์ , อบูนุอัยมฺ , 2/132

[8] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/578

[9] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/578

[10] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/573-574

[11] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/579

[12] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บิน สะอดฺ , 7/175

[13] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 7/577

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , ,

ชีวประวัติท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ (ตอนที่ 1)

الحسن البصري
ชีวประวัติท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮ
(ตอนที่ 1 : ชื่อ การเกิด และลักษณะ)
แปลและเรียบเรียงโดย Zunnur

                เราอยู่กับอาลิมนักปฏิบัติท่านหนึ่ง เป็นอิมามท่านหนึ่งในหมู่ตาบิอีน เป็นอิมามผู้ที่คำพูดของเขามีความคล้ายคลึงกับคำพูดของบรรดานบี ท่านดูดซับความรู้จนกระทั่งสามารถพูดคุยด้วยหิกมะฮฺ อบูนุอัยมฺได้เปรียบท่านคนนี้ด้วยคำพูดว่า “ในหมู่พวกเขามีคนที่เป็นมิตรสหายกับความรู้สึกกลัวและความเศร้า เป็นเพื่อนกับทุกข์และระทม ไม่นอนและเผอเรอ เขาคือท่านอบูสะอีด อัลหะสัน บิน อบูอัลหะสัน นักนิติศาสตร์และผู้สมถะ เป็นคนที่ขยันทำอิบาดะฮฺ ท่านขว้างทิ้งดุนยาที่เต็มไปด้วยสิ่งประดับประดาเพริศแพร้วมากมาย และกักขังความปรารถนาของอารมณ์ใฝ่ต่ำ”

อัซซะฮะบีย์ ได้บอกเล่าลักษณะของท่านด้วยคำพูดว่า “คุณลักษณะที่ดีของท่านมีมากมาย และคุณความดีของท่านเกินคณานับ ท่านคือผู้นำในเรื่องความรู้และอัลหะดีษ ท่านเป็นอิมามมุจตะฮิด เป็นคนที่ศึกษามาก เป็นผู้นำในเรื่องความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอานและการอรรถาธิบาย(ตัฟสีร)อัลกุรอาน ท่านเป็นผู้นำในการนะศีหะฮฺและให้แง่คิด เป็นผู้นำในเรื่องมารยาทและอิบาดะฮฺ ผู้นำในความสมถะ(ซุฮดฺ)และความซื่อตรง(ศิดกฺ) ผู้นำในเรื่องการพูดที่คล่องแคล่วและในเรื่องสำนวนโวหาร และท่านยังเป็นผู้นำในเรื่องความแข็งแกร่งและความกล้าหาญด้วย”

ท่านคือผู้ชายที่มีรูปร่างดี สมบูรณ์ แข็งแรง และใช้ชีวิตยาวนานในการศึกษาความรู้และประสบการณ์ ลูกชายของท่านกล่าวว่า “พ่อของผมมีชีวิต 88 ปี” อัลลอฮทรงคุ้มครองท่านจากฟิตนะฮฺต่างๆ ท่านมิได้ไม่ร่วมเกี่ยวข้องกับฟิตนะฮฺอิบนุ อัลอัชอัษ และท่านเลือกเดินเส้นทางแห่งความสำรวมตน ท่านสั่งห้ามเข้าร่วมกับเขา(อิบนุ อัลอัชอัษ) และสั่งห้ามเข้าร่วมในกองทัพของอัลหัจญาจญ์ด้วย ท่านสั่งให้ห่างไกลจากทั้งหมดนี้ และนี่แหล่ะคือสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนในการเผชิญกับฟิตนะฮฺต่างๆ ท่านมองว่าอัลหัจญาจญ์ อัษษะเกาะฟีย์ เป็นการลงโทษจากอัลลอฮ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ในขณะเดียวกันท่านเรียกร้องให้ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ ไม่ใช่จากอาวุธ? หากพวกเขาขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ พระองค์จะทรงทำให้ประทานความกว้างขวางและทางออกแก่พวกเขาจากการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย แต่หากพวกเขาขอความคุ้มครองจากดาบและการก่อกบฏ พวกเขาก็จะถูกปล่อยทิ้งให้อยู่กับสิ่งนั้น และมันก็จะไม่มีประโยชน์ใดๆสำหรับพวกเขาเลย สมควรอย่างยิ่งที่ชาวมุสลิมจะเรียนรู้เรื่องราวของท่านและรับเอาประโยชน์ต่างๆจากรายงานของท่าน

ขอการสถาพร ความศานติ และสิริมงคลจากอัลลอฮจงมีแด่ผู้ที่ถูกส่งมาเป็นความเมตตาแก่สากลโลก มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ พระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลจักรวาล

ชื่อ การเกิด และลักษณะของท่านอัลหะสัน อัลบัศรีย์ 

ชื่อของท่าน :

อัลหะสัน บิน อบูอัลหะสัน ยะสาร อัลบัศรีย์ ชื่อเล่น(กุนยะฮฺ)ของท่านคือ อบูสะอีด เป็นอดีตทาสของท่านซัยดฺ บิน ษาบิต เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ บางคนบอกว่าเป็นอดีตทาสของท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ และบางคนบอกว่าเป็นอดีตทาสของท่านอามิร บิน หะดีดะฮฺ บางคนก็บอกว่าเป็นอดีตท่าสของอบูอัลยะสัร ส่วนมารดาของท่านนั้นคือออดีตทาสที่ดีที่สุดของท่านอุมมุสะละมะฮฺ ภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม , ยะสาร บิดาของท่านเป็นเชลยมาจากมีซาน

การเกิดของท่าน :

อัลหะสันเกิดในช่วง 2 สุดท้ายของเคาะลีฟะฮฺอุมัร บิน อัลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ

ลักษณะของท่าน :

มุหัมมัด บิน สะอดฺ กล่าวว่า “อัลหะสันนั้นเป็นจุดศูนย์รวม , ผู้รู้ , สูงส่ง , มีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง(ฟะกีฮฺ) , เชื่อถือได้(ษิเกาะฮฺ) , เป็นหลักฐาน(หุจญะฮฺ) , ได้รับความเชื่อถือ , เป็นนักอิบาดะฮฺ , นักปฏิบัติธรรม , มีความรู้มาก , มีคำพูดที่คล่องแคล่ว , หล่อเหลา และงดงาม”[1]

อัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า “ท่านคือผู้ชายที่มีรูปร่างดีและสมบูรณ์ และถูกขนานว่าเป็นผู้กล้าหาญ”[2]

จากอัลเอาวาม บิน เฮาชับ กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเปรียบท่านอัลหะสัน(ว่ามีความละม้ายคล้ายคลึง)กับใคร นอกจากกับนบีคนหนึ่ง”[3]

จากชุอฺบะฮฺ กล่าวว่า “ฉันเห็นอัลหะสันสวมผ้าสะระบั่นสีดำ”[4]

จากอาศิม บิน สัยยัร อัรเราะกอชีย์ ทาสีของอัลหะกัม เล่าว่า “อัลหะสันมาหาหิฏฏ็อน บิน อับดุลลอฮ อัรเราะกอชีย์ ฉันไม่เคยเห็นเยาวชนคนใดที่มีใบหน้าหล่อเหลามากกว่าเขา”[5]

__________________________

[1] อัฏเฏาะบะก็อต อัลกุบรอ , มุหัมมัด บินสะอดฺ , 7/157

[2] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/572

[3] สิยัร อะอฺลาม อันนุบะลาอ์ , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 4/572

[4] ตารีค อัลอิสลาม , ชัมสุดดีน อัซซะฮะบีย์ , 7/51

[5] ตะฮฺซีบ อัลกะมาล , ญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ , 6/606

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

 
Blog Abu Umamah™

Media Belajar Dan Berbagi Ilmu Islam Ahlussunnah Wal Jama'ah

Baannada The Coach

บ้านณดาเดอะโค้ช- เพจเลี้ยงลูกเชิงบวกแบบฉบับโค้ชชีวิต เลี้ยง-เล่น-เที่ยว-ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายไปกับลูก

Insyaflah, wahai Salafy!

Kalau tidak ada yang menjelaskan ... bagaimana ummat bisa tahu ?

faham.wordpress.com

Tugas pertama kita adalah memahami Islam, bukan sekedar mengetahui dalilnya

irwandizakaria-blog

Berikan yang Terbaik, Insya Allah akan Dapat Yang Terbaik

Renaissance

ไม่จุดเริ่มต้นไม่มีที่สิ้นสุด

Terjemah Kitab Salaf

membumikan dakwah ahlus sunnah

Bahasa Arab Jarak Jauh at-Taisir

Mempelajari Bahasa al-Qur'an dan as-Sunnah

Ibnu Taimiyah

Menguak keagungan seorang Syaikhul Islam

ABU MUSA AL-ATSARI

Belajar Islam, Menikmati Alam

Meniti Jalan menuntut Ilmu

Membuka Jalan Menuju Surga...

bushrohouse

ห้องสมุดบ้านบุชรอ : ห้องสมุดเพื่ออุมมะฮฺ

Para Ulama Ahlul Hadits

Biografi Ahlul Hadits, Para Sahabat, Tabi’in dan Tabiut Tabi’in beserta Keluarga Rasulullah صلى ا لله عليه وسلم

Salafy

Meneladani Generasi Terdahulu yang Shalih

บ้านเรียนอัลอัรกอม

ปฏิบัติดี วิถีอิสลาม ความรู้กว้างไกล

Mengenal Ajaran Islam Lebih Dekat

Islam, Rumaysho, Salafi, Ahlus Sunnah, Ahlus Sunnah wal Jama'ah, Muslim